Tuesday 29 June 2010


อภิสิทธิ์กับอำมาตย์มือเปื้อนเลือด
ห้ามเพื่อไทยหาเสียงหรือวิจารณ์รัฐบาลในการเลือกตั้งซ่อม

7 ขั้นตอนในการสร้าง “ประชาธิปไตยพอเพียง”
ใจ อึ๊งภากรณ์

1. “รัฐประหารเพื่อประชาธิปไตย” ๑๙ กันยา ทหารทำรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนจน เพราะ “คนจนโง่เกินไปที่จะมีสิทธิ์มีเสียงได้”
2. รัฐธรรมนูญทหาร ย้อนยุคแต่งตั้ง ส.ว. โดยทหาร และให้ความชอบธรรมกับรัฐประหาร ฟอกตัวคนทำผิด แถมเน้นนโยบาย “เศรษฐกิจพอเพียง” คนรวยมีทรัพย์สมบัติพันล้าน คนจนไม่มีอะไร แต่ต้องพอเพียงและนิ่งเฉย
3. “ประชาธิปไตยไร้พ่อครัว” การทำรายการอาหารในโทรทัศน์ผิดหลักประชาธิปไตยพอเพียง
4. “ประชาธิปัตย์ไร้ประชาธิปไตย” ทหารแต่งตั้งอภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลโดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง มีการเซ็นเซอร์สื่ออย่างหนัก และใช้กฎหมายหมิ่นฯไล่จับฝ่ายประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้มีประชาธิปไตย “มากเกินไป”
5. “ประชาธิปไตยไร้สิทธิมนุษยชน” รัฐบาลและทหารฆ่าประชาชนมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตย 90 ศพ เพื่อหลีกเลี่ยง “ประชาธิปไตยมากเกินไป” และการเลือกตั้ง
6. “ปฏิรูปการเมืองไร้ประชาธิปไตย” รัฐบาลมือเปื้อนเลือดเริ่มกระบวนการ “ปฏิรูป” โดยไม่มีประชาธิปไตย ยังมี พรก. ฉุกเฉิน ฯลฯ มีการเชิญหน้าเก่าจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาเป็นหัวหอก ในขณะเดียวกันประเทศไทยมีนักโทษการเมืองเกิน 400 คน และมีการไล่ฆ่าคนเสื้อแดงในต่างจังหวัด
7. “ห้ามวิจารณ์รัฐบาลในการเลือกตั้ง” รัฐบาลประกาศห้ามหาเสียง ห้ามวิจารณ์รัฐบาล ในการเลือกตั้งซ่อมที่กรุงเทพฯเขต ๖ เพราะฝ่ายค้านนำ ก่อแก้ว (เบอร์๔) มาลงสมัคร

Wednesday 23 June 2010

อะไรคือผลของการปฏิวัติ ๒๔๗๕?



อะไรคือผลของการปฏิวัติ ๒๔๗๕?

ใจ อึ๊งภากรณ์



ในคำประกาศฉบับที่หนึ่งของคณะราษฎร์ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีท่อนหนึ่งที่เขียนไว้ว่า....

“ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมาจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง”

ในตอนท้ายมีการเสนอนโยบายว่า...
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชของประเทศ (ซึ่งแสดงว่ารัฐบาลกษัตริย์ไม่ได้ปกป้องเอกราชอย่างที่เรามักจะถูกสอน)
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดรัฐสวัสดิการ
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ถ้ามองตรงนี้อย่างผิวเผิน เราอาจสรุปว่าอำมาตย์สามารถหมุนนาฬิกากลับและทำลายผลของการปฏิวัติไปทั้งปวง แต่ความจริงซับซ้อนกว่านั้น

ในด้านหนึ่ง แน่นอน ความฝันของแกนนำคณะราษฎร์อย่างอาจารย์ปรีดี ที่จะเห็นนโยบายแปดข้อข้างบนกลายเป็นความจริง โดยเฉพาะเรื่องรัฐสวัสดิการ หรือเรื่องอิสรภาพและความเท่าเทียมของทุกคน ยังไม่บรรลุผลสำเร็จเลย และอาจารย์ปรีดีก็โดนฝ่ายนิยมเจ้ากับทหารไล่ออกจากประเทศไทย ต้องไปเสียชีวิตนอกประเทศ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง นาฬิกาไม่ได้ถูกหมุนกลับไปสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่รัชกาลที่ห้าตั้งขึ้นหลังปฏิวัติระบบศักดินา เพราะอำนาจการปกครองถูกกระจายไปสู่ทหาร ข้าราชการ และนายทุน ซึ่งเราสามารถเรียกโดยรวมว่าพวก “อำมาตย์” เพราะเขาไม่สนใจสนับสนุนประชาธิปไตยแท้ พร้อมจะขัดขวางสิทธิเสรีภาพเสมอ และทนกับประชาธิปไตยรัฐสภาก็ต่อเมื่อกลุ่มของตนครองอำนาจอยู่ได้เท่านั้น

ในช่วงแรกหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ กลุ่มทหาร กับกลุ่มนิยมเจ้า เป็นศัตรูกัน จอมพล ป.พิบูลสงครามและพรรคพวกเป็นผู้ล้มเจ้า และพวกนิยมเจ้าต้องการกลับมา แต่หลังความพ่ายแพ้ของกบฏบวรเดช และหลังรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พวกนิยมเจ้ากับพวกทหารเผด็จการก็กลายเป็นพวกเดียวกัน โดยที่กษัตริย์มีหน้าที่ในการเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิกษัตริย์ที่ให้ความชอบธรรมกับการกระทำและอำนาจของทหาร และทหารเชิดชู อุดหนุนทางการเงิน และสงเสริมกษัตริย์เป็นการตอบแทน มันเป็นลักษณะการร่วมมือกัน ฝ่ายทหารมีอำนาจ และฝ่ายกษัตริย์มีบารมีทางความคิด ที่ใช้กล่อมเกลาประชาชนให้เชื่อฟังชนชั้นปกครอง ซึ่งมันเป็นลักษณะที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ สิ่งที่เสริมให้ความสัมพันธ์นี้มั่นคงมากขึ้นคือ กฎหมายหมิ่นฯ เพื่อให้กษัตริย์ถูกวิจารณ์ไม่ได้ และการใช้อาวุธสงครามของทหาร เพื่อเข่นฆ่าประชาชนที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ

แต่เราต้องเข้าใจเพิ่มว่าเมื่อทหารกับพวกนิยมเจ้าเข้าทำแนวร่วมด้วยกัน เขาพยายามสร้างภาพหลอกลวงประชาชนว่ามีการหมุนนาฬิกากลับไปสู่ระบบเก่าในลักษณะ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบประชาธิปไตย” ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะกษัตริย์ไร้อำนาจ และไม่ใช่ประชาธิปไตยด้วย ผมจำได้ดีว่าในยุค สฤษดิ์ ถนอม ประภาส ผมและเพื่อนๆในห้องเรียนจะถูกสอนว่าประเทศไทยเป็น “ประชาธิปไตย” ในเพลงชาติก็มีเนื้อแบบนั้นด้วย ทั้งๆ ที่มันเป็นเผด็จการชัดๆ และใครที่ค้านเผด็จการ ก็จะถูกกล่าวหาว่าล้มเจ้า ในปัจจุบันก็เป็นอย่างนั้น

ข้อดีของการสร้างภาพนี้สำหรับอำมาตย์ คือเขาสามารถทำให้เราเกรงกลัว “อำนาจกษัตริย์” ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นอำนาจกองทัพ การที่เราถูกสอนให้รักและกลัวนายภูมิพลเหมือนกับว่าเขาเป็นทั้งพ่อและเทวดา เป็นวิธีที่จะกล่อมเกลาให้ประชาชนจงรักภักดีต่อทหารและชนชั้นปกครองทั้งหมดโดยรวม

การที่ความฝันของอาจารย์ปรีดีไม่บรรลุผลสำเร็จ ไม่ใช่เพราะการปฏิวัติ ๒๔๗๕ เป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” อย่างที่เราทุกคนถูกฝ่ายนิยมเจ้าสอนมานาน แต่เป็นเพราะอาจารย์ปรีดีพึ่งพาทหารมากเกินไปในการทำการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และที่สำคัญไม่สามารถสร้างพรรคราษฎรขึ้นมาเป็นพรรคมวลชน เพื่อสู้กับทหารและฝ่ายนิยมเจ้า ซึ่งเป็นสองปฏิปักษ์ของประชาธิปไตยในไทยมานาน และยังเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาชนเสื้อแดงที่รักประชาธิปไตยอยู่ทุกวันนี้

บทสรุปสำคัญคือ อย่าไปพึ่ง“ทหารแตงโม” ต้องมองกองทัพว่าเป็นปฏิปักษ์ อย่าไปหาทางลัดเพื่อสร้างประชาธิปไตย เราต้องพัฒนาขบวนการมวลชนและสร้างพรรคมวลชนของคนเสื้อแดงที่จะเสนอรัฐสวัสดิการและความเท่าเทียมเสมอภาค “ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่”

Tuesday 8 June 2010

แนวรบ 8 ข้อ ของเสื้อแดงหลังราชประสงค์


ยุทธศาสตร์สำคัญ
แนวรบ 8 ข้อ ของเสื้อแดงหลังราชประสงค์

ข้อเสนอจาก ใจ อึ๊งภากรณ์




การฆ่าประชาชนมือเปล่าอย่างเลือดเย็นโดยอำมาตย์ และการล่าจับแกนนำเสื้อแดง เป็นสิ่งที่ท้าทายเราอย่างถึงที่สุด ห้าครั้งแล้วในรอบสี่สิบปีที่อำมาตย์ฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย เราไม่สามารถยอมจำนนอีกต่อไปได้ ถ้าไม่สู้ก็เป็นทาส ถ้าไม่สู้เราไม่มีวันสร้างรัฐไทยใหม่ที่ประชาชนเป็นใหญ่ เราไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมทางสังคม เราไม่สามารถสร้างความเป็นพลเมืองแทนการเป็นไพร่ และสังคมไทยจะจมอยู่ในยุคมืดและความด้อยพัฒนาต่อไป
เราต้องสู้... แต่เราต้องสู้ด้วยปัญญา ไม่ใช่หลงใหลในนิยายของการจับอาวุธ การจับอาวุธจะเป็นแค่ยุงกัดสำหรับอำมาตย์ สิ่งที่อำมาตย์กลัวคือมวลชน เราควรหลงใหลคิดว่าจะมีพระเอกที่ไหนมาปลดแอกเราหรือทำแทนเราอีกด้วย เราต้องพัฒนาการต่อสู้ของมวลชน และพัฒนาระดับการเมืองของฝ่ายเรา

1. รื้อฟื้นองค์กรและเครือข่ายเสื้อแดง จากระกับรากหญ้า ระดับชุมชน พวกเราเริ่มอยู่แล้ว แต่เราต้องทำอย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานศพ การทำบุญ การร่วมกันกินข้าว การดื่มกาแฟ การแข่งกีฬา ฯลฯ ต้องกลายเป็นกิจกรรมทางการเมืองของฝ่ายเรา ต้องเป็นโอกาสที่จะคุยกัน และที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างจังหวัดต่างๆ อย่าไปคิดว่าแกนนำระดับชาติจะทำให้ เขาทำไม่ได้เพราะแกนนำสำคัญติดคุกอยู่ ในกรณีที่ไม่ติดคุกก็ทำไม่ได้เพราะทำไม่เป็น พวกเราในระดับรากหญ้าทำได้ และเราเริ่มทำกันแล้ว ถ้าไพร่จะกบฏจริง ไพร่ต้องเลิกประเมินตัวเองต่ำเกินไป เราต้องก้าวเข้ามาเป็นแกนนำรุ่นใหม่ที่ผูกพันอย่างใกล้ชิดกับเสื้อแดงรากหญ้า แกนนำใหม่นี้ต้องเน้นการปรึกษาหารือกับมวลชนตลอด ไม่มีพระเอก ไม่มีผู้ใหญ่ มีแต่ไพร่นักสู้มืออาชีพที่จะปลดแอกตนเอง รายละเอียดของการปฏิบัติการต้องประเมินเองตามความเหมาะสมและความสามารถ เงินทุนในการเคลื่อนไหวต้องร่วมกันลงขัน เงินทุกบาทที่เราลงขัน เป็นการแก้แค้นเอาคืนจากสิ่งชั่วร้ายที่อำมาตย์กระทำกับเรา เป็นการทำบุญให้วีรชนที่เสียชีวิต การทำงานของเราจะปิดลับแค่ไหนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่อย่าลืมว่าการปิดลับเป็นอุปสรรค์ต่อการสร้างประชาธิปไตยภายในของขบวนการ

2. ถ้าเราจะสู้เราต้องมีระบบข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ ไม่ต้องพึ่งสื่อรัฐ ASTV หรือข่าวลือ เราทำตรงนี้ได้ผ่านเอกสาร ซีดี วิทยุชุมชน อินเตอร์เน็ท การคุยกันทางโทรศัพท์ และการพบกันเป็นประจำ

3. เราต้องรวบรวมรายชื่อผู้ติดคุก เพื่อรณรงค์ช่วยเหลือนักต่อสู้และผู้นำของเรา ขบวนการไหนไม่สามารถปกป้องคนของตนเองหรือไม่สามารถรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมือง จะไม่มีวันชนะ เราต้องทำเอง ไม่มีใครจะมาทำให้เรา ไพร่ต้องพึ่งตนเอง แต่ไพร่คือคนส่วนใหญ่ของสังคม

4. เราต้องเรี่ยรายเงินเพื่อช่วยเหลือคนบาดเจ็บและครอบครัวของผู้เสียชีวิต หลายแห่งเริ่มทำแล้วกิจกรรมแบบนี้ และกิจกรรมการรณรงค์สนับสนุนคนติดคุก จะเป็นการ “ออกกำลังกายฝึกฝน” ที่สำคัญและมีประโยชน์สำหรับการพัฒนาเครือข่ายเสื้อแดงทั่วประเทศ

5. เมื่อเราพร้อม เราควรจะเปลี่ยนจากการสู้เพื่อปกป้องช่วยเหลือพวกเรา ไปเป็นการรุกสู้กับอำมาตย์ คราวนี้ต้องหาทาง “ปิดเมือง” เช่นนัดอยู่บ้านไม่ไปทำงาน ปิดร้านค้า ปิดธุรกิจ และนัดหยุดงานในโรงงานและสถานที่ทำงานต่างๆ อย่างที่เขาทำกันในประเทศอื่นๆ ของเอเชียหรือที่อัฟริกาใต้และลาตินอเมริกา มันแปลว่าเราต้องมีการพูดคุย วางแผน และขยายเครือข่ายเข้าสู่ขบวนการสหภาพแรงงาน และชุมชนต่างๆ พื้นที่เหล่านี้ต้องเป็นของเราให้ได้ เราจะต้องหาทางไม่ร่วมมือกับรัฐอำมาตย์ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วค่อยๆ ขยายเป็นเรื่องใหญ่อีกด้วย

6. พัฒนาความคิดทางการเมืองแบบ “ตาสว่าง” การที่เราจะ “ตาสว่าง” ไม่ได้แปลว่าเราจะมองว่าใครคนใดคนหนึ่ง เช่นนายภูมิพล นางสิริกิติ์ หรือนายเปรม เป็นผู้บงการทุกอย่าง พวกนั้นมันเลวจริง แต่เราต้องเข้าใจว่าทหาร ข้าราชการ นักการเมือง และนายทุนใหญ่ของอำมาตย์ ร่วมกันใช้ “ลัทธิกษัตริย์” (ชาติ ศาสนา กษัตริย์) ในการสร้างความชอบธรรมกับการกดขี่ขูดรีดที่พวกมันทั้งแก๊งทำกับเรา อำมาตย์มันเป็นคณะ มันใช้ลัทธิกษัตริย์ปิดหูปิดตาเราและในการสร้างความกลัวตั้งแต่เราเข้าโรงเรียน เราจึงต้องสลัดมันทิ้งไป เลิกจงรักภักดี เริ่มหันมาเคารพประชาชนแทน เราต้องเกลียดกองทัพฆาตกรพอๆกับที่เราเกลียดอำมาตย์อื่นๆ เราต้องศึกษาประวัติศาสตร์ตั้งแต่ ๒๔๗๕ ผ่านเหตุการณ์เดือนตุลา ไปสู่ปัจจุบัน และต้องศึกษาประวัติศาสตร์ประเทศอื่นๆ อีกด้วย

7. พัฒนาข้อเรียกร้องทางการเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องยุบสภา ไม่ใช่แค่ประชาธิปไตย แต่ต้องให้ประชาชนเป็นใหญ่จริงๆแล้วมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีงานทำ มีฐานะเศรษฐกิจดี มีรัฐสวัสดิการ มีการเก็บภาษีสูงๆจากอภิสิทธิ์ชนของอำมาตย์ มีการปฏิรูประบบศาลอย่างถอนรากถอนโคน มีการล้มกองทัพและสร้างกองกำลังใหม่เพื่อความปกป้องปลอดภัยของประชาชนแทนการฆ่าประชาชน ต้องมีการสร้างแนวร่วมกับพี่น้องชาวมุสลิมมาเลย์ในภาคใต้ที่ถูกอำมาตย์และกองทัพเข่นฆ่ากดขี่มานานเหมือนเรา ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ และต้องมีเวทีปฏิรูปเพื่อให้ประชาชนร่วมกันพิจารณาว่าจะทำยังไงกับสถาบันกษัตริย์และรัฐไทย จะยกเลิกไป หรือปฏิรูป ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราต้องคุยกันให้ชัดเจน

8. จะทำอย่างไรกับพรรคเพื่อไทย? ตลอดเวลาที่เสื้อแดงต่อสู้บนท้องถนน ส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวนมาก ไม่ทำอะไรเลย พอเราถูกปราบเขาก็ไม่ทำอะไร ที่พูดอย่างนี้ผมไม่นับคนที่เป็นแกนนำบนเวทีราชประสงค์อย่างจตุพร ซึ่งทำหน้าที่อย่างดีที่สุด แต่เราคงต้องยอมรับว่าพรรคเพื่อไทยมีปัญหามากมาย เราสามารแก้ปัญหานี้ด้วยสองวิธีคือ
ใช้ขบวนการคนเสื้อแดงกดดันพรรค เพื่อให้พรรคเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติพรรคจากภายในให้เริ่มเสนอนโยบายใหม่ๆ และมีส่วนในการนำการต่อสู้ โดยการเปลี่ยน ส.ส. แกนนำ และความคิดในพรรค
หรือ เราอาจตัดสินใจสร้างพรรคเสื้อแดงขึ้นมาเป็นพรรคใหม่แทนพรรคเพื่อไทย เพื่อให้เป็นพรรคตัวแทนของเราจริงๆ เป็นพรรคตัวแทนของคนที่พร้อมจะสู้ พร้อมจะเห็นรัฐไทยใหม่
การเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ต้องอาศัยการพูดคุยแลกเปลี่ยนภายในวงกว้างของคนเสื้อแดงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราต้องรักษาขบวนการเสื้อแดงที่เข้มแข็งและอิสระ เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมนอกรัฐสภา เพื่อให้เป็นเจ้านายของพรรคเพื่อไทย ไม่ให้พรรคใช้เสื้อแดงเป็นฐานเสียงโดยไม่ให้อะไรกับเรา

8 มิ.ย. 2553

Sunday 30 May 2010

ความป่าเถื่อนของทหารพระราชา

ความป่าเถื่อนของทหารพระราชา

Saturday 22 May 2010

ทั้งราชประสงค์ และสามจังหวัดภาคใต้ อำมาตย์ดูถูกและเข่นฆ่าประชาชน


ทั้งราชประสงค์ และสามจังหวัดภาคใต้ อำมาตย์ดูถูกและเข่นฆ่าประชาชน
ใจ อึ๊งภากรณ์

ที่ราชประสงค์ อำมาตย์กระหายเลือดมองว่าคนเสื้อแดงเป็นผักเป็นปลา เป็นฝุ่นใต้ตีน ฆ่าทิ้งได้ตามสบาย ฆ่าแล้วโกหก โกหกแล้วฆ่า ปิดข่าว สร้างประวัติศาสตร์เท็จ มองว่า “ชาวบ้าน” ที่เป็นคนเสื้อแดงขาดการศึกษา โง่ ถูกจูงเหมือนควาย มองว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ป้ายร้ายว่าจิตใจรุนแรงเมื่อออกมาเรียกร้องสิทธิ์เสรีภาพและความเคารพอย่างมนุษย์เท่าเทียม ในที่สุดชาวบ้านตื่นตัว เปิดหูเปิดตา เกลียดทหาร เกลียดอำมาตย์ ไม่อยากให้พวกนี้ครองชีวิตและประเทศอีกต่อไป
ที่นราธิวาส ยะลา ปัตตานี อำมาตย์กระหายเลือดมองว่าคนมุสลิมมาเลย์เป็นผักเป็นปลา เป็นฝุ่นใต้ตีน ฆ่าทิ้งได้ตามสบาย ฆ่าแล้วโกหก โกหกแล้วฆ่า ปิดข่าว สร้างประวัติศาสตร์เท็จ มองว่า “ชาวบ้าน” ที่เป็นคนมาเลย์มุสลิมขาดการศึกษา โง่ ถูกจูงเหมือนควายโดยผู้ไม่หวังดี มองว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ป้ายร้ายว่าจิตใจรุนแรงเมื่อออกมาเรียกร้องสิทธิ์เสรีภาพและความเคารพอย่างมนุษย์เท่าเทียม ในที่สุดชาวบ้านตื่นตัว เปิดหูเปิดตา เกลียดทหาร เกลียดอำมาตย์ ไม่อยากให้พวกนี้ครองชีวิตและประเทศอีกต่อไป
ในทั้งสองพื้นที่ ราชินี ออกมาปลุกระดมให้มีการฆ่าและเกลียดชังชาวบ้าน หรือออกมาสนับสนุนผู้ที่กดขี่ประชาชนอย่างเปิดเผย
ในทั้งสองพื้นที่ พวกนายพลระดับสูง ออกคำสั่งให้ฆ่าประชาชน แต่ใช้ลูกหลานเราที่เป็นทหารเกณฑ์ ในงานสกปรกของเขา
ในทั้งสองพื้นที่ รัฐบาลกลางของพวกเศรษฐีคนรวย กดขี่ขูดรีดประชาชน และปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเป็นตัวของตัวเอง
ในทั้งสองพื้นที่ รัฐอำมาตย์พยายามชักชวนให้คนในสังคมเกลียดชังชาวบ้านภายใต้ลัทธิ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” แต่เรารู้ว่า “ชาติ” ที่มันพูดถึงไม่ใช่ชาติของเราชาวไพร่ เรารู้ว่าทหารพร้อมจะฆ่าและจับพระสงฆ์ที่เข้าข้างคนจน หรือฆ่าอิมามของชาวบ้าน และเรารู้ว่ากษัตริย์ไม่เคยห้ามการนองเลือดหรือการกดขี่ประชาชน
ที่ราชประสงค์และผ่านฟ้าในปี ๒๕๕๓ ทหารเลวทราม ฆ่าประชาชนกว่า 80 ศพ แล้วอ้างคำโกหกต่างๆ นาๆ เพื่อให้ตัวเองดูดี แต่เรารู้ว่าเขาทำอะไร อภิสิทธิ์ อนุพงษ์ และสุเทพ ต้องรับผิดชอบ
ที่ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในปี ๒๕๔๗ ทหารเลวทราม ฆ่าประชาชน 80 ศพ แล้วอ้างคำโกหกต่างๆ นาๆ เพื่อให้ตัวเองดูดี แต่คนเสื้อแดงจำนวนมากไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เราต้องเข้าใจว่าทักษิณและพวกนายพลต้องรับผิดชอบ เพราะเราต้องไม่มีสองมาตรฐานอีกแล้วใช่ไหม?

ข้อสรุปสำคัญคือ ถึงเวลาแล้วที่คนเสื้อแดงจะต้องเห็นอกเห็นใจชาวบ้านมาเลย์มุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ จะต้องเริ่มพยายามมีอารมณ์ร่วม และเปิดใจเปลี่ยนความคิดที่เคยมีอคติกับเขา และเข้าใจว่าทำไมเขาจับอาวุธสู้ หรือใช้การชุมนุมอย่างสันติ ในการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา
• กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ สามจังหวัดภาคใต้ ต้องถอนทหาร ยกเลิกกฎหมายฉุกเฉิน หยุดยิง
• กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ สามจังหวัดภาคใต้ ต้องแก้ปัญหาด้วยการเมืองประชาธิปไตย ชาวบ้านที่มีความเชื่อและประเพณีต่างกัน ต้องมีสิทธิ์กำหนดอนาคตตนเอง ต้องมีสิทธิ์ปกครองตนเอง
• ไพร่มาเลย์มุสลิม ไพร่เสื้อแดง จับมือสามัคคี โค่นล้มอำมาตย์ สร้างประชาธิปไตยสมบูรณ์!!!

รายการวิทยุของผม

http://monarchyobsolete.podbean.com/
รายการวิทยุของผม

Wednesday 19 May 2010

ความโกรธแค้นของประชาชนมีความชอบธรรม




ความโกรธแค้นของประชาชนมีความชอบธรรม
ใจ อึ๊งภากรณ์

ความโกรธแค้นของประชาชนในที่สุดก็ระเบิดออกมา มีการเผาตึกราชการ ศาลากลางจังหวัด ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ ห้างร้านขายสินค้าราคาแพง และสื่อที่ถือหางให้อำมาตย์ฯลฯ นอกจากนี้มีการปะทะสู้รบกับทหารด้วยทุกวิธี

ทั้งหมดนี้มีความชอบธรรม... เพราะอะไร?

1. รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพ ได้ใช้อาวุธสงคราม รถถัง ปืนกล สไนเปอร์ และหน่วยสังหาร เพื่อฆ่าประชาชนมือเปล่า ที่เรียกร้องประชาธิปไตย อย่างไม่เลือกหน้า และเขาทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมษายนปีนี้ และก่อนหน้านั้นเมื่อเมษายนปีที่แล้ว เขามองประชาชนคนจนเหมือนเป็นฝุ่นใต้ตีน เหมือนเป็นผักเป็นปลา ยอดคนตายคงถึง 80 เป็นอย่างน้อย มีคนบาดเจ็บเป็นพันๆ
2. ความรุนแรงของรัฐอำมาตย์ในครั้งนี้ กระทำไปเพื่อให้รัฐบาลอภิสิทธิ์และพวกอำมาตย์ ที่ไม่เคยมาจากการเลือกตั้ง สามารถครองอำนาจต่อไป และหลีกเลี่ยงการเลือกตั้งให้นานที่สุด รัฐบาลนี้เป็นผลพวงจากการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา และรัฐประหารเงียบของศาลสองครั้ง มันไม่มีความชอบธรรมที่จะครองอำนาจแต่อย่างใด
3. แกนนำเสื้อแดงพยายามหาทางเจรจามาตลอด พยายามประนีประนอมเพื่อให้หลีกเลี่ยงความรุนแรง พยายามขอร้องให้มีการหยุดยิงและเจรจา แต่รัฐบาลอำมาตย์ให้คำตอบด้วยกระสุนปืน
4. ในระบบประชาธิปไตย ประชาชนควรจะมีอำนาจอธิปไตยสูงสุด อำนาจสูงสุดไม่ควรจะอยู่ที่กองทัพ อภิสิทธิ์ชน และเครือข่ายวัง ดังนั้นการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและการเลือกตั้งย่อมมีความชอบธรรมสูงสุด ไม่ว่าจะมีการปิดถนนในย่านห้างร้านราคาสูงหรือย่านโรงแรมห้าดาวเป็นเวลาสองเดือนก็ตาม
5. พวก “องค์กรดัดจริตอ้างสันติวิธี” ไม่เคยออกมาหนุนช่วยความพยายามอันใหญ่หลวงของแกนนำ นปช. ในการควบคุมการประท้วงให้มีวินัยและอยู่ในกรอบสันติ ทั้งๆ ที่เสื้อแดงเผชิญหน้ากับความรุนแรงจากรัฐตลอด แทนที่องค์กรเหล่านี้จะกดดันและโจมตีรัฐ เพื่อให้เลิกใช้ความรุนแรง เขากลับโทษทั้งสองฝ่าย ซึ่งในรูปธรรมก็แค่ให้ความชอบธรรมกับจุดยืนของรัฐบาลที่ใช้ทหารกับประชาชนพร้อมกับเรียกร้องให้เสื้อแดงยุติการชุมนุมก่อนที่จะเจรจา

แต่ตอนนี้การชุมนุมทางการของ นปช. ยุติแล้วท่ามกลางการนองเลือดโดยรัฐบาล และผลคืออะไร? ไม่ใช่สันติภาพแน่นอน เพราะตราบใดที่ไม่มีความเป็นธรรมในสังคม จะไม่มีสันติภาพ

แกนนำ นปช ยุติการชุมนุม




แกนนำ นปช ยุติการชุมนุม เพื่อไม่ให้คนตายเพิ่ม

Monday 17 May 2010

กรุงเทพฯ พฤษภาคม 2010



โดยอาจารย์มังกรดำ

Saturday 15 May 2010

อำมาตย์ทั้งหมดมือเปื้อนเลือด!! (อีกครั้ง)

อำมาตย์ทั้งหมดมือเปื้อนเลือด!! (อีกครั้ง)
ใจ อึ๊งภากรณ์

อำมาตย์มันกำลังฆ่าประชาชนมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยอีกครั้ง
ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา มันฆ่าเรา 6 ครั้ง เพราะมันมองว่าเราเป็นผักเป็นปลา เป็นฝุ่นใต้ตีนมัน มันมองว่าประชาชนไม่มีสิทธิ์ที่จะเสรี
มันสั่งสอนเราว่า “ไทย” เป็น “ไท” แต่ภายใต้อำมาตย์ ตั้งแต่อดีตในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงปัจจุบัน มันทำให้ไทยเป็นทาส แล้วมันหน้าด้านบอกว่าประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขเพราะมีนายภูมิพลเป็นกษัตริย์ แต่การมีกษัตริย์กลายเป็นเงื่อนไขในการฆ่าประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อไรที่ชนชั้นปกครองไทยคิดจะฆ่าประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม มันใช้ข้ออ้างว่าประชาชนเหล่านั้นไม่จงรักภักดี ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ สำหรับอำมาตย์ความจงรักภักดีของ “ไทยที่เป็นทาส” เป็นเรื่องที่จะต้องบังคับบนกองศพ
ขบวนการเสื้อแดงเกิดขึ้นและเติบโตมาเพราะประชาชนนับล้านไม่พอใจกับเผด็จการและความเหลื่อมล้ำ และอยากต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในที่สุดขบวนการเสื้อแดงกลายเป็นขบวนการประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เสื้อแดงไม่ได้ก่อตัวขึ้นมาเพื่อล้มเจ้า และคนจำนวนมากแสดงจุดยืนว่าจงรักภักดี
แต่ในเมื่ออำมาตย์มองเราเป็นขยะ พร้อมจะฆ่าเราโดยไม่เคยสำนึกผิด เราจะจงรักภักดีต่อ “ชาติทหารป่าเถื่อน” และ “กษัตริย์ที่ไม่เคยปกป้องประชาธิปไตย” ทำไม?
ถ้านายภูมิพลสามารถออกมาพูดกับข้าราชการและผู้พิพากษาได้ เขาก็ออกมาห้ามทหารและรัฐบาลที่ฆ่าประชาชนได้ในวันนี้ แต่เขานิ่งเฉยตามเคย ตามที่เขานิ่งเฉยทุกครั้งในอดีตจนกว่าสงครามจะยุติลง นายภูมิพลไม่เคยมีความกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องตามหน้าที่ประมุข ไม่เคยมีความกล้าที่จะแสดงจุดยืน เป็นคนอ่อนแอไร้จิตสำนึก เชื่อเถิดครับ นายภูมิพลไม่สนใจความอยู่เย็นเป็นสุขของท่านเพื่อนประชาชนที่รักทั้งหลาย นายภูมิพลมองว่าคุณเป็นขยะ เขามองว่าชีวิตท่านไม่มีค่า ชีวิตลูกหลานพ่อแม่พี่น้องของท่านไม่มีค่า เพราะในสายตาเขา เราเป็นแค่ฝุ่นใต้ตีนเขา
ในเมื่อทหารฆ่าประชาชนในนามของภูมิพลและครอบครัวกาฝากของเขา ถ้าเราลุกขึ้นประกาศว่าเราชาวไพร่จะล้มกษัตริย์และระบบเผด็จการอำมาตย์ในทุกร่างทุกรูปแบบ แล้วจะเสียอะไร? มันกำลังฆ่าเราอยู่แล้ว
ระบบกษัตริย์มีหน้าที่หลักในการสร้างความชอบธรรมและความกลัวเพื่อให้ประชาชนจงรักภักดีต่ออำมาตย์ทั้งหมด อำมาตย์เป็นใคร? อำมาตย์เป็นชนชั้น มันประกอบไปด้วยเกือบทุกส่วนของชนชั้นปกครองไทย รวมนายพลที่คุมกองทัพและพร้อมจะสั่งการฆ่าประชาชน รวมพวกศาลและข้าราชการชั้นสูงที่ทำลายความยุติธรรม และรวมพวกอภิสิทธิ์ชนที่สูบเลือดจากการทำงานของประชาชนนับล้านเพื่อสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง.... ท่านคิดหรือว่าตระกูลนายอภิสิทธิ์ หรือตระกูลเศรษฐีทั้งหลายร่ำรวยมาจากการขยันทำงานยังงั้นหรือ? ไม่ต้องพูดถึงตระกูลนายภูมิพลที่ขยันสั่งสอนให้ประชาชนคนจน “พอเพียง”
ถ้าความจงรักภักดีต่อกษัตริย์สร้างความชอบธรรมกับพวกกาฝากทรราชที่กดขี่ประชาชน การประกาศว่า “เราไม่เอาเจ้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภูมิพลหรือใครก็ตาม” จะทำลายอาวุธทางความคิดที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้อำมาตย์ครองใจสังคม อย่าลืมว่ามันครองสังคมบนซากศพประชาชนด้วย ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะประกาศด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เสรีว่า “เราต้องการสาธารณรัฐ” “เราไม่เอาเจ้าแล้ว”
แต่แค่นั้นไม่พอ เราต้องจัดการกับกองทัพและทหารชาติชั่วที่ฆ่าประชาชนเป็นประจำ
กองทัพไทยเป็นปีศาจดูดเลือดที่เราต้องกำจัดจากสังคม มันดูดทรัพยากรมากมาย งบประมาณเพื่อซื้ออาวุธไว้ฆ่าประชาชน งบประมาณที่เข้ากระเป๋าพวกนายพล และที่สำคัญมันดูดลูกหลานเราที่เป็นทหารเกณฑ์เข้าไปรับใช้มัน จนลูกหลานดีๆ ของเราที่เป็นทหารเกณฑ์หรือทหารอาสาระดับล่าง ถูกบังคับให้เป็นฆาตกร หรือต้องไปตายเพื่อพวกข้างบน
ถึงเวลาที่เราต้องรื้อโครงสร้างกองทัพอย่างถอนรากถอนโคน ต้องปลดนายพลออกให้หมด ลดงบประมาณอย่างถึงที่สุด แปรรูปกองทัพให้รับใช้ประชาชน ให้เป็นหน่วยกู้ภัย ให้เป็นหน่วยที่ดูแลประชาชน ไม่ต้องมีรถถัง ไม่ต้องมีปืนใหญ่ ไม่ต้องมีปืน M79 ไม่ต้องมีปืน M16 เพราะสิ่งเหล่านี้ถูกใช้กับเราประชาชนมาตลอด เนื่องจากผู้นำกองทัพมองว่าศัตรูของชาติมัน ชาติอำมาตย์ คือประชาชนไทย
ในระยะสั้นเราต้องทำให้อำมาตย์ปกครองประเทศไทยไม่ได้ ให้มันลุกเป็นไฟไปเลย! แต่ในรายละเอียดของวิธีการ ผมไม่มีสิทธิ์เสนอ เพราะผมไม่ต้องเสี่ยงชีวิตในประเทศไทยในขณะนี้ ขอให้เพื่อนๆ พี่น้องปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะปลอดภัยได้
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสองสามวัน เราต้องตัดสินใจปลดแอกสังคมจากอำมาตย์ชาติชั่ว และในกระบวนการปลดแอกนี้ เราต้องปลดแอกปัญญาของเราจากความคิดทาสที่บังคับให้เราจงรักภักดีต่อเจ้าและชื่นชมกองทัพ นี่คือสงครามประชาชน
15 พ.ค.

Monday 10 May 2010

คนเสื้อแดงได้อะไรจากการต่อสู้??

คนเสื้อแดงได้อะไรจากการต่อสู้??
ใจ อึ๊งภากรณ์

จุดจบของการต่อสู้รอบนี้ ซึ่งเริ่มในเดือนมีนาคม เป็นการประนีประนอมระหว่างแกนนำคนเสื้อแดงกับรัฐบาลของอำมาตย์ หลายคนคงจะผิดหวัง แต่เราควรใช้เวลาพิจารณาสถานการณ์และกำหนดแนวทางในการต่อสู้ต่อไป เรื่องมันยังไม่จบจนกว่าอำมาตย์จะถูกโค่นล้ม ดังนั้นอย่าไปเสียเวลากับอาการ “อกหัก” อย่าไปท้อ อย่าไปเดินออกจากเวทีการต่อสู้ด้วยความน้อยใจ

ขอย้ำในสิ่งที่เขียนก่อนหน้านี้.... จุดเด่นเราคืออะไร? จุดเด่นของการต่อสู้ของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปมีหลายข้อคือ
• คนเสื้อแดงได้พิสูจน์ว่าเป็นขบวนการของประชาชนชั้นล่างในการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อเรื่องปากท้องและเพื่อประชาธิปไตยพร้อมกัน ซึ่งรวมคนชนบทและคนในกรุงเทพฯ จำนวนมาก มากจนเป็นประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้ ๑๔ ตุลา การต่อสู้ของ พ.ค.ท. และการต่อสู้ในเดือนพฤษภาปี ๓๕
• การต่อสู้ที่ยาวนาน ท่ามกลางกระสุนปืน หมอกควัน และข่าวที่ถูกบิดเบือนปิดกั้นโดยรัฐบาล เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับประชาชนจำนวนมาก เขาได้เรียนรู้วิธีจัดตั้งตนเอง วิธีเข้าถึงข้อมูล และวิธีกระจายข่าว ยิ่งกว่านั้นการต่อสู้ทำให้เขากลายเป็นผู้นำเอง มีความมั่นใจในการท้าทายอำนาจอำมาตย์ที่กดทับชีวิตประชาชนมานาน เราอาจพูดได้ว่าเกือบจะไม่มีใครในขบวนการเสื้อแดงที่ยังคิดแบบเดิม ไม่มีใครเป็นทาสทางความคิดของลัทธิอำมาตย์
• การต่อสู้ที่เข้มแข็งของคนเสื้อแดงนี้ บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐระดับล่าง เช่นตำรวจและทหารเกณฑ์ เริ่มคิดหนัก หลายคนไม่ยอมทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และอาจมีหลายคนที่คิดกบฏ แต่ยังไม่ทำอะไรให้เห็นชัด นี่คืออาการของวิกฤตในการปกครองของรัฐอำมาตย์ เราอาจพูดได้ว่ารัฐอำมาตย์อยู่ได้ก็ด้วยการปราบปราม ขู่เขน และการปิดกั้นข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความชอบธรรมเลยในสายตาประชาชนนับล้าน และในสายตาสื่อต่างประเทศและชาวโลกที่สนใจประเทศไทย
• เราบังคับให้รัฐบาลอำมาตย์เลื่อนการเลือกตั้งมาข้างหน้า 3 เดือน

ขอเพิ่มเติมตรงนี้ให้ชัดเจนมากขึ้นคือ ท่ามกลางการต่อสู้ คนเสื้อแดงส่วนใหญ่หมดศรัทธาในสถาบันกษัตริย์แล้ว และสาเหตุมาจากพฤติกรรมของฝ่ายอำมาตย์เองตั้งแต่การผูกโบสีเหลืองในรัฐประหาร ๑๙ กันยา เราต้องเลี้ยงกระแสนี้ให้เติบโตมั่นคงขึ้น เพราะจะมีผลมหาศาลในการทำให้กองทัพหมดความชอบธรรมในการแทรกแซงการเมือง และเปิดทางให้มีการสร้างประชาธิปไตยแท้ได้

ข้อที่น่ากังวล
การประนีประนอมครั้งนี้ทิ้งปัญหาสำคัญๆ ไว้มากมาย เพราะไม่มีการแก้ไขการเซ็นเซอร์สื่อและอินเตอร์เน็ต ไม่มีคำมั่นสัญญาว่าจะเปิดสื่ออย่างเช่น ประชาไท หรือวิทยุชุมชน ไม่มีการพูดถึงนักโทษทางการเมืองในคดีหมิ่นเดชานุภาพฯ และคดีที่มาจากการปิดถนนท่ามกลางการประท้วง คนเหล่านี้ยังติดคุกอยู่ ในประเด็นเหล่านี้พวกเราชาวเสื้อแดงคงต้องสู้ต่อไปในรูปแบบกรณีเฉพาะ ตามจุดและชุมชนต่างๆ ไม่ใช่ยอมจำนนหรือรอการเลือกตั้ง

จุดอ่อนที่ทำให้คนเสื้อแดงชุมนุมต่อไม่ได้
เราต้องดูจุดอ่อนของขบวนการ เพราะจุดอ่อนเหล่านี้ทำให้มันยากที่จะสู้ต่อไปโดยไม่มียุทธวิธีใหม่ๆ ซึ่งเป็นผลทำให้มีการประนีประนอมในที่สุด ดังนั้นเพื่อให้ฝ่ายเราไปปรับแก้และพัฒนาการต่อสู้ในอนาคต เราต้องคิดหนักตรงนี้ เพราะการสู้กับอำมาตย์จะไม่จบง่ายๆ

• ขบวนการเสื้อแดงยังไม่จัดตั้งในหมู่คนงาน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างในโรงงาน หรือพนักงานในออฟฟิส ฯลฯ เพราะถ้าลูกจ้างที่เป็นเสื้อแดงจัดตั้งกันในสหภาพแรงงาน เราสามารถใช้พลังการนัดหยุดงานมากดดันอำมาตย์ และพลังนี้มีประสิทธิภาพสูง ปราบด้วยกองกำลังได้ยากอีกด้วย มันเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจ
• การนำในขบวนการเสื้อแดงควรขยายให้สะท้อนความยิ่งใหญ่ของขบวนการ กลุ่มเสื้อแดงจากชุมชนต่างๆ ที่เราเห็นชัดในรูปแบบซุ้มหรือกลุ่มคนที่เดินทางมาด้วยกัน ควรเลือกผู้แทนของตนเองหนึ่งคน และให้ผู้แทนเหล่านี้ประชุมหารือกับแกนนำตลอดเวลา เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างคนเสื้อแดงรากหญ้ากับแกนนำอย่างเป็นระบบ การตัดสินใจอะไรก็ควรตัดสินใจร่วมกันแบบนี้ ซึ่งจะทำให้ขบวนการเสื้อแดงเข้มแข็งยิ่งขึ้น แกนนำจะมีโอกาสผิดพลาดน้อยลง และรากหญ้าจะร่วมรับผิดชอบในการนำด้วย โดยที่จะสร้างความสามัคคีมากขึ้น นอกจากนี้แกนนำเสื้อแดงในทุกระดับควรมีผู้หญิง เพื่อสะท้อนความจริงเกี่ยวกับขบวนการของเรา
• คนเสื้อแดงต้องทำการบ้านหนักขึ้นในการต่อสายกับทหารเกณฑ์ เพื่อขยายการจัดตั้งของเสื้อแดงเข้าไปในกองทัพ ทหารแตงโมที่จะน่าไว้ใจและมีประสิทธิภาพสูงสุดคือทหารเกณฑ์ที่เป็นเสื้อแดง และในยามวิกฤตเราจะได้สนับสนุนให้เขาฝืนคำสั่งของพวกนายพลที่ต้องการฆ่าประชาชน
• เมื่อมีการยุบสภาและเลือกตั้ง พรรคของคนเสื้อแดงต้อง “คิดใหม่ทำใหม่” รอบสอง เพื่อครองใจประชาชนต่อไป ควรมีการเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการ นโยบายที่จะช่วยคนงานและเสริมค่าจ้าง นโยบายสร้างสันติภาพในภาคใต้ และนโยบายเพื่อปฏิรูประบบยุติธรรมและระบบสื่อมวลชน ฯลฯ เราต้องเป็นพรรคของไพร่และพรรคของเสรีภาพและต้องเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวของขบวนการเสื้อแดง ทั้งในระดับชาติ และระดับชุมชน มีบทบาทหลักในพรรค ไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองเก่าๆ ที่ไม่ทำอะไร มาหากินกับการต่อสู้ของประชาชน

เรามีภารกิจในการปลดแอกพลเมืองประเทศนี้จากอำนาจเผด็จการของอำมาตย์ ถ้าเราไม่นำ “กำไร” ที่เราได้มาจากการต่อสู้ในสองเดือนที่ผ่านมา มาเสริมและพัฒนาแนวทางของเราให้ยกระดับสูงขึ้น การเสียสละของคนเสื้อแดงจะละลายไปกับน้ำ เราต้องไม่พลาดตรงนี้ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมืองไทยจะกลับไปเป็นแบบเก่าไม่ได้อีกแล้ว

จุดเด่นจุดด้อยของการต่อสู้ของคนเสื้อแดงตั้งแต่มีนาคมปีนี้

จุดเด่นจุดด้อยของการต่อสู้ของคนเสื้อแดงตั้งแต่มีนาคมปีนี้
ใจ อึ๊งภากรณ์

จุดเด่นของการต่อสู้ของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปมีหลายข้อคือ
1. คนเสื้อแดงได้พิสูจน์ว่าเป็นขบวนการของประชาชนชั้นล่างในการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อเรื่องปากท้องและเพื่อประชาธิปไตยพร้อมกัน ซึ่งรวมคนชนบทและคนในกรุงเทพฯ จำนวนมาก มากจนเป็นประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้ ๑๔ ตุลา การต่อสู้ของ พ.ค.ท. และการต่อสู้ในเดือนพฤษภาปี ๓๕
2. การต่อสู้ที่ยาวนาน ท่ามกลางกระสุนปืน หมอกควัน และข่าวที่ถูกบิดเบือนปิดกั้นโดยรัฐบาล เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับประชาชนจำนวนมาก เขาได้เรียนรู้วิธีจัดตั้งตนเอง วิธีเข้าถึงข้อมูล และวิธีกระจายข่าว ยิ่งกว่านั้นการต่อสู้ทำให้เขากลายเป็นผู้นำเอง มีความมั่นใจในการท้าทายอำนาจอำมาตย์ที่กดทับชีวิตประชาชนมานาน เราอาจพูดได้ว่าเกือบจะไม่มีใครในขบวนการเสื้อแดงที่ยังคิดแบบเดิม ไม่มีใครเป็นทาสทางความคิดของลัทธิอำมาตย์
3. การต่อสู้ที่เข้มแข็งของคนเสื้อแดงนี้ บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐระดับล่าง เช่นตำรวจและทหารเกณฑ์ เริ่มคิดหนัก หลายคนไม่ยอมทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และอาจมีหลายคนที่คิดกบฏ แต่ยังไม่ทำอะไรให้เห็นชัด นี่คืออาการของวิกฤตในการปกครองของรัฐอำมาตย์ เราอาจพูดได้ว่ารัฐอำมาตย์อยู่ได้ก็ด้วยการปราบปราม ขู่เขน และการปิดกั้นข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความชอบธรรมเลยในสายตาประชาชนนับล้าน และในสายตาสื่อต่างประเทศและชาวโลกที่สนใจประเทศไทย

แต่เราต้องดูจุดอ่อนของขบวนการด้วย เพื่อให้ฝ่ายเราไปปรับแก้และพัฒนาการต่อสู้ เพราะการสู้กับอำมาตย์จะไม่จบง่ายๆ จุดอ่อนที่เราต้องช่วยกันแก้คือ
1. ขบวนการเสื้อแดงยังไม่จัดตั้งในหมู่คนงาน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างในโรงงาน หรือพนักงานในออฟฟิส ฯลฯ เพราะถ้าลูกจ้างที่เป็นเสื้อแดงจัดตั้งกันในสหภาพแรงงาน เราสามารถใช้พลังการนัดหยุดงานมากดดันอำมาตย์ และพลังนี้มีประสิทธิภาพสูง ปราบด้วยกองกำลังได้ยากอีกด้วย มันเป็นอำนาจทางเศรษฐกิจ
2. การนำในขบวนการเสื้อแดงควรขยายให้สะท้อนความยิ่งใหญ่ของขบวนการ แกนนำควรจะให้กลุ่มเสื้อแดงจากชุมชนต่างๆ ที่เราเห็นชัดในรูปแบบซุ้มหรือกลุ่มคนที่เดินทางมาด้วยกัน เลือกผู้แทนของตนเองหนึ่งคน และให้ผู้แทนเหล่านี้ประชุมหารือกับแกนนำ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างคนเสื้อแดงรากหญ้ากับแกนนำตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ การตัดสินใจอะไรก็ควรตัดสินใจร่วมกันแบบนี้ ซึ่งจะทำให้ขบวนการเสื้อแดงเข้มแข็งยิ่งขึ้น แกนนำจะมีโอกาสผิดพลาดน้อยลง และรากหญ้าจะร่วมรับผิดชอบในการนำด้วย โดยที่จะสร้างความสามัคคีมากขึ้น นอกจากนี้แกนนำเสื้อแดงในทุกระดับควรมีผู้หญิง เพื่อสะท้อนความจริงเกี่ยวกับขบวนการของเรา
3. คนเสื้อแดงต้องทำการบ้านหนักขึ้นในการต่อสายกับทหารเกณฑ์ เพื่อขยายการจัดตั้งของเสื้อแดงเข้าไปในกองทัพ ทหารแตงโมที่จะน่าไว้ใจและมีประสิทธิภาพสูงสุดคือทหารเกณฑ์ที่เป็นเสื้อแดง และในยามวิกฤตเราจะได้สนับสนุนให้เขาฝืนคำสั่งของพวกนายพลที่ต้องการฆ่าประชาชน
4. ถ้ามีการยุบสภาและเลือกตั้ง พรรคของคนเสื้อแดงต้อง “คิดใหม่ทำใหม่” รอบสอง เพื่อครองใจประชาชนต่อไป ควรเสนอนโยบายรัฐสวัสดิการ นโยบายที่จะช่วยคนงานและเสริมค่าจ้าง นโยบายสร้างสันติภาพในภาคใต้ และนโยบายเพื่อปฏิรูประบบยุติธรรมและระบบสื่อมวลชน ฯลฯ

ไม่ว่าการต่อสู้รอบนี้จะจบลงชั่วคราวอย่างไร เรามีภารกิจในการปลดแอกพลเมืองประเทศนี้จากอำนาจเผด็จการของอำมาตย์ และการต่อสู้นี้จะใช้เวลา แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมืองไทยจะกลับไปเป็นแบบเก่าไม่ได้อีกแล้ว

Tuesday 4 May 2010

คำตอบของ นปช. 4พ.ค

คำตอบของ นปช. 4พ.ค.
1. ยินดีเข้าสู่กระบวนการปรองดองเพื่อแก้วิกฤต ยินดีเจรจา
2. มีข้อสงสัยว่าจะยุบสภาในวันที่เท่าไร? เพราะ กกต. เท่านั้นที่สามารถกำหนดวันเลือกตั้ง
3. รัฐบาลควรแสดงความจริงใจด้วยการลดการคุกคามคนเสื้อแดง ต้องมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง ชุมนุม และการสื่อสารรับข้อมูล
4. นปช. ไม่ขอนิรโทษกรรมในข้อหา ล้มสถาบัน หรือการก่อการไร้ เพราะยินดีสู้คดีในศาล และต้องไม่นิรโทษกรรมคดีสั่งฆ่าประชาชนในเดือนเมษายน ต้องเดินหน้าในคดีต่างๆ เช่นคดีของพันธมิตรฯในกรณียึดสนามบิน
5. ทุกฝ่ายให้ยุติการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง

คนเสื้อแดงควรต่อรองกับข้อเสนอของอภิสิทธิ์
ใจ อึ้งภากรณ์

ในเมื่อคนเสื้อแดงต่อสู้และเสียสละถึงขนาดนี้แล้ว ไม่ควรยอมรับข้อเสนอของทรราชอภิสิทธิ์แบบง่ายๆโดยไม่มีการต่อรองเพิ่มเติม อย่างน้อยที่สุด...
1. เราควรเรียกร้องให้ยุบสภาในวันที่ 14 กรกฎาคม แทนวันที่ 14 กันยายน เพื่อเลือกตั้งในวันที่ 14 กันยายน ซึ่งถือว่าเป็นการประนีประนอมพบกันครึ่งทาง
2. การกำหนดวันยุบสภาและวันเลือกตั้ง ต้องไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้มีการกลับคำในภายหลังโดยอ้างสถานการณ์ที่ “ไม่เอื้อกับการเลือกตั้ง”
3. เราควรเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และให้พรรคร่วมรัฐบาลเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่มาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว
4. ผบทบ. หัวหน้าพรรคต่างๆ ฯลฯ จะต้องออกมาสัญญาว่าจะไม่แทรกแซงการเลือกตั้ง และจะยอมรับผลการเลือกตั้ง
5. เราควรเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน และถอนทหารตำรวจออกจากพื้นที่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดทันที
6. รัฐบาลควรยกเลิกข้อกล่าวหา หมายจับ หมายเรียก และการดำเนินคดีต่างๆ ทุกคดีที่ใช้กับคนเสื้อแดงทุกคนอันเป็นผลจากการชุมนุมครั้งนี้ คนเสื้อแดงที่ติดคุกเพราะปิดกั้นถนนควรถูกปล่อยตัวทันที อภิสิทธิ์ควรขอโทษที่รัฐบาลและศอฉ.กล่าวหาแกนนำเสื้อแดงและคนอื่นว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการล้มเจ้า
7. รัฐบาลต้องยกเลิกการปิดกั้นและเซ็นเซอร์สื่อทั้งหมดทันที โดยเฉพาะสื่อคนเสื้อแดงทุกชนิด รวมถึงโทรทัศน์ วิทยุชุมชน และเว็ปไซท์อย่างเช่น ประชาไท ฯลฯ
8. คณะกรรมการที่จะมาตรวจสอบข้อมูลเรื่องเหตุการณ์นองเลือด 10 เมษายน ต้องไม่เป็นเครื่องมือของอำมาตย์ ดังนั้นน่าจะประกอบไปด้วยฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายเสื้อแดง และคนที่เป็นกลางในสัดส่วนเท่าๆ กัน ประธานกรรมการควรจะเป็นคนกลางจริงๆ เช่นคนต่างประเทศที่แต่งตั้งโดยสหประชาชาติหรือ ASEAN คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดปัจจุบันไม่ควรเกี่ยวข้องในฐานะ “คนเป็นกลาง” เพราะประกอบไปด้วยคนที่สนับสนุนพันธมิตรฯและรัฐประหาร ๑๙ กันยา

ข้อเสนอห้าข้อของอภิสิทธิ์เต็มไปด้วยคำโกหกและคำแก้ตัว มีการโกหกว่าเขาปกป้องเสรีภาพของสื่อ มีการโกหกเรื่องสถาบันกษัตริย์ เพราะในความเป็นจริงทหาร พันธมิตรฯ และรัฐบาลเป็นผู้ดึงสถาบันนี้มาใช้เพื่อให้ความชอบธรรมกับตนเอง ไม่ใช่คนเสื้อแดงที่ดึงสถาบันมาเกี่ยวกับการเมือง และการกระทำของเสื้อเหลืองและอำมาตย์ได้ทำให้ประชาชนจำนวนมากเสื่อมศรัทธาในสถาบันกษัตริย์ มีการโกหกว่าวิกฤตนี้มาจากแค่เรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสำคัญมาก แต่อีกประเด็นคือการที่อำมาตย์ทำลายสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
ในระยะยาว หลังจากที่เราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในวิกฤตนี้ เราต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ของทหาร ปฏิรูปการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ยกเลิกกฎหมายหมิ่นเดชานุภาพและปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมด ต้องเดินหน้าเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้า และครอบวงจร ผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดินตามความหมายของประชาธิปไตยแท้ เราไม่ต้องการเป็นไพร่เป็นทาสหรือฝุ่นใต้ตีนใครอีกต่อไป!

Wednesday 28 April 2010

ใช่ ผมอยากล้มเจ้า แล้วยังไง?



ใช่ ผมอยากล้มเจ้า แล้วยังไง?
ใจ อึ๊งภากรณ์



ในแผนผังโกหกเรื่องการล้มเจ้าของอำมาตย์ มีอย่างน้อยหนึ่งคนที่อยากเห็นประชาธิปไตยสาธารณรัฐในประเทศไทยครับ ผมยกมือประกาศเรื่องนี้ด้วยความภูมใจมานานแล้ว ผมไม่เคยปกปิดว่าผมอยากเห็นประชาธิปไตยและความเท่าเทียมในประเทศของเรา ผมภูมใจที่ผมไม่ใช่ฝุ่นใต้ตีนใคร ผมอยากยกเลิกระบบกษัตริย์
แต่คนที่เหลือเกือบทั้งหมดในแผนผังโกหกนั้น รวมถึงทักษิณและแกนนำ นปช. ทั้งหมด เขายังอยากมีระบบกษัตริย์ ผมก็เสียใจที่เขาคิดแบบนั้น หวังว่าวันหนึ่งอาจเปลี่ยนใจกัน แต่นั้นก็เป็นเรื่องของเขา เรามีจุดร่วมตรงที่ไม่อยากให้มีเผด็จการครองเมือง ตรงนั้นเราร่วมมือกันได้ แต่ในเรื่องกษัตริย์คงต้องมองต่างมุมต่อไป นั้นคือความจริงที่ใครๆรับรู้กันถ้าคิดเองเป็น ยกเว้นไอ้พวกตาลายบ้าอำนาจที่นั่งอยู่ในราบ๑๑
ผมไม่เอาระบบหมอบคลาน ระบบที่กราบไหว้คนที่ฝ่ายชนชั้นปกครองอ้างว่าเป็น “เทวดา” ผมมองว่าในระบบประชาธิปไตย ทุกตำแหน่งสำคัญต้องมาจากการเลือกตั้ง ผมอยากยกเลิกระบบกษัตริย์ในไทย ในอังกฤษ ในญี่ปุ่น และที่อื่นทั่วโลก....แล้วยังไง?
ฝ่ายรัฐบาลอภิสิทธิ์กับทหารชาติชั่วจะฆ่าผมเพราะผมกล้าคิดต่างจากพวกมัน ยังงั้นหรือ?
การประกาศว่าการฆ่าคนที่คิดต่างจากอำมาตย์ คนที่อยากเห็นระบบสาธารณรัฐ “เป็นสิ่งที่ชอบธรรม” เป็นคำประกาศของทรราช แต่ที่สำคัญกว่านั้นมันแปลว่าคนไทยไม่มีสิทธิ์คิดเอง ไม่มีสิทธิ์ประกาศจุดยืนทางการเมืองของตนเองอย่างสันติ เพราะถ้าแสดงจุดยืนที่ไม่เอาเจ้า จะต้องถูกฆ่าทิ้ง
ซึ่งแปลว่าภาพของคนไทยที่รักกษัตริย์และราชวงศ์ เป็นภาพจอมปลอมที่มาจากการบังคับให้คนรักเจ้า สรุปแล้วคนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นเจ้าของแท้ของประเทศและรักประชาธิปไตย อาจไม่รักเจ้าเลยก็ได้ ซึ่งตามหลักประชาธิปไตยก็แปลว่าควรยกเลิกระบบกษัตริย์ไปเลย .....นั้นคือความกลัวและฝันร้ายของอำมาตย์
ผมไม่เห็นด้วยกับการมีระบบกษัตริย์ในไทยเพราะ
• กษัตริย์ภูมิพลถูกใช้ในการให้ความชอบธรรมกับเผด็จการทหารมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์
• กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของพลเมืองไทยแม้แต่ครั้งเดียว
• กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยสร้างความสงบในสังคม ทุกครั้งที่มีวิกฤตและความรุนแรงกษัตริย์ภูมิพลรอดูว่าใครจะชนะก่อนที่จะออกมา ไม่ว่าจะมีการเสียเลือดเนื้อแค่ไหน ไม่ว่าจะยุค ๑๔ ตุลา, พฤษภา ๓๕ หรือปัจจุบัน และในกรณี ๖ ตุลา ยังสนับสนุนความรุนแรงป่าเถื่อน
• กษัตริย์ภูมิพลสั่งสอนคนจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ ให้ “พอเพียง” ท่ามกลางความยากจน ในขณะที่ภูมิพลเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศ รวยเพราะคนอื่นทำงาน เขาจึงขัดขวางการกระจายรายได้และการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม
• การมีกษัตริย์สิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก เงินนี้น่าจะนำมาพัฒนาสังคมและระบบรัฐสวัสดิการแทน
• กษัตริย์ภูมิพลเป็นคนที่ยอมให้คนอื่นหมอบคลานต่อตนเอง แต่เขาไม่มีความกล้าและความซื่อสัตย์พอที่จะยอมรับว่าคนที่ถูกประหารชีวิตในกรณีที่พี่ชายตัวเองเสียชีวิตเป็นคนบริสุทธิ์
• ทุกตำแหน่งสาธารณะ ควรมาจากการเลือกตั้ง ควรถูกตรวจสอบ ควรมีความโปร่งใส แต่ระบบกษัตริย์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีการตรวจสอบ และความโปร่งใส เพราะมีกฎหมายหมิ่นฯ
คิดแค่นี้ รัฐบาลไทยมองว่าผมควรถูกฆ่าทิ้ง .... ผมไม่กลัวหรอก.... คนที่กลัวความจริงกับการใช้เหตุผลคือฝ่ายอำมาตย์ต่างหาก.... คนที่กลัวเพื่อนประชาชนในประเทศคืออำมาตย์
ผมไม่แค่ต่อต้านระบบกษัตริย์ แต่ผมต่อต้านทหารชาติชั่วที่ฆ่าประชาชนที่รักประชาธิปไตยในบ้านเกิดของผมมาห้าครั้งแล้ว มันไล่คุณพ่อผมออกนอกประเทศด้วย ดังนั้นรัฐไทยใหม่ที่เราจะสร้างต้องสร้างด้วยการปลดนายพลทั้งหมดออก ตัดงบประมาณทหาร ลดกำลังและอาวุธ ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร และปฏิรูปกองทัพแบบถอนรากถอนโคน
จริงๆ แล้วไม่มีกองทัพเลยก็ยิ่งดี อาศัยแค่ตำรวจก็พอ เพราะกองทัพไม่เคยปกป้องประชาชน ได้แต่ฆ่าประชาชน และประชาชนคือชาติ

ทหารใช้อาวุธกับคนเสื้อแดง






28 เมษายน ทหารใช้อาวุธยิงคนเสื้อแดงที่ตลาดไท และดอนเมือง
ทหารยิงกันเองโดยไม่ตั้งใจ ตายหนึ่ง ข่าวจากบีบีซี
http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/8648109.stm

เสื้อแดงสู้ๆ โค่นอำมาตย์และทหารเลว!!
ดูแผนผังอำมาตย์ชั่ว

Thursday 15 April 2010

มองฝ่าหมอกควันก๊าซน้ำตา

มองฝ่าหมอกควันก๊าซน้ำตา
ใจ อึ๊งภากรณ์

ท่ามกลางหมอกควันก๊าซน้ำตา และการเข่นฆ่าประชาชนโดยทหารตามคำสั่งของอำมาตย์ ฝ่ายรัฐบาลทรราช สื่อรับใช้ทรราช นักวิชาการรับจ้างของอำมาตย์ และพวกดัดจริตอ้างตัวเป็นกลางแบบ “สันติวิธี” ทั้งหลาย เช่นกรรมการสิทธิ์ เอ็นจีโอ และกลุ่มอื่นๆ กำลังพยายามเบี่ยงเบนประเด็นหลักของเหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน เพื่อให้ประชาชนสับสนมืนเมาเหมือนโดนควันก๊าซน้ำตารอบสอง ผมจึงขอสรุปประเด็นสำคัญๆ สามข้อของเหตุการณ์ดังนี้
ถ้ารัฐบาลไหน ไม่ว่าที่ไหนในโลก ใช้ทหารติดอาวุธสงคราม กระสุนจริง และรถถัง เพื่อเคลียร์พื้นที่การชุมนุมของประชาชนจำนวนมากที่ไร้อาวุธและไม่ได้ใช้ความรุนแรง ไม่ว่าทหารนั้นจะมีโล่หรือกระสุนยางสมทบไปด้วย ไม่ว่าทหารจะยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้าในขั้นตอนแรก แต่ในที่สุด ท่ามกลางความตึงเครียด หรือด้วยความจงใจ ทหารจะใช้กระสุนจริงเพื่อฆ่าประชาชน เพราะทหารไม่ได้นำปืน M16 ปืนกลนานาชนิด หรือรถถัง มาหุงข้าว ไถนา หรือสร้างเกมสนุกๆให้เด็กๆ อาวุธสงครามดังกล่าวมีไว้ฆ่าคนอย่างเดียว คำถามที่รัฐบาลอำมาตย์ต้องตอบคือ ทำไมใช้ทหารติดอาวุธสงครามในการเคลียร์พื้นที่ของการชุมนุมของประชาชน ในขณะที่ประชาชนมีวินัยในการรักษาความสงบและปราศจากอาวุธ?
นี่คือประเด็นหลักประเด็นแรก มันคือความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ ไม่ว่าจะมีคนลึกลับแต่งชุดดำวิ่งไปวิ่งมาท่ามกลางหมอกควันหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นมือที่สาม หรือทหารนอกเครื่องแบบ หรือใครก็ว่ากันไป แต่ถ้ามีจริงก็ไม่ใช่คนที่อยู่ในวินัยและการจัดตั้งของ นปช. แน่นอน เวลาผมพูดถึง “วินัย” ของคนเสื้อแดง อยากให้เรามองภาพการนำอาวุธที่ยึดจากทหารมากองไว้ที่หน้าเวทีเพื่อไม่ให้ใครใช้ อยากให้มองภาพการจับและปล่อยทหารเกณฑ์โดยไม่มีการทำร้าย ในที่อื่นในโลกอาจมีการใช้อาวุธดังกล่าวเพื่อโต้ตอบกับทหาร
พันธมิตรฯ เวลาชุมนุมยึดสนามบินหรือทำลายทำเนียบรัฐบาล หรือตอนที่ไปปิดล้อมรัฐสภาและนำระเบิดมาใช้หรือขับรถทับตำรวจ ได้จงใจทำร้ายร่างกายคนอื่นและทำลายเศรษฐกิจไทย ต่างโดยสิ้นเชิงกับระเบียบวินัยและความสงบเรียบร้อยของคนเสื้อแดงที่ชุมนุมในกรุงเทพฯตั้งแต่เดือนมีนาคมปีนี้

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอำมาตย์และชนชั้นปกครองไทย ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมามีการใช้กำลังทหารติดอาวุธสงคราม เพื่อเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตย 5 ครั้งกลางกรุงเทพฯ คือ ๑๔ ตุลา ๑๖, ๖ ตุลา ๑๙, พฤษภา ๓๕, เมษาเลือด ๕๒ และเมษาเลือด ๕๓ ถ้านับเหตุการณ์ตากใบในภาคใต้ในปี ๒๕๔๗ ก็มีทั้งหมด 6 ครั้งที่รัฐไทยฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ประท้วงตามกระบวนการประชาธิปไตย ใครที่สั่งทหารติดอาวุธสงครามไปสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย จึงมีความจงใจให้เกิดการเสียเลือดเนื้อแน่นอน ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เวลาเขาอยากจะเคลียร์พื้นที่ของผู้ชุมนุม ซึ่งการเคลียร์นั้นอาจชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมก็ตาม เขาส่งตำรวจไปดัน ไปไล่ ไปจับประชาชน ไม่ได้ส่งทหารและรถถัง นี่คือปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เรามีประชาธิปไตยแท้ วิธีแก้ไขคือการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในสังคม โดยการนำผู้ที่กระทำผิดในระดับสูงมาลงโทษ หรืออย่างน้อยประกาศว่าเขาทำผิดอย่างชัดเจนเป็นทางการ และที่สำคัญเราต้องเกษียณนายพลทั้งหลาย ตัดงบประมาณทหาร และลดขนาดของกองทัพลงแบบถอนรากถอนโคน เพราะกองทัพไทยไม่เคยปกป้องประชาชน มีแต่จะฆ่าประชาชนเท่านั้น นอกจากนี้ต้องมีการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมฯ และกฎหมายคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้มีการใช้ข้ออ้างเรื่องการ “ล้มเจ้า” มาใช้ในการฆ่าประชาชน เราต้องมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น
ถ้าถอยหลังมาดูภาพรวมของการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ จะเห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีกองทัพ ใช้ทหารติดอาวุธสงคราม และรถถัง และพยายามปกปิดสื่อเพื่อไม่ให้สังคมทราบว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น อีกฝ่ายเป็นประชาชนธรรมดาที่ปราศจากอาวุธที่ต้องการประชาธิปไตย ดังนั้นใครที่เรียกร้องให้ “ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบความรุนแรง” เป็นคนที่โกหกบิดเบือนความจริง มองว่าช้างเท่ากับมด มดจึง “มีส่วนผิดในการที่โดนช้างเหยียบตายเพราะเสือกไปยืนตรงทางเดินช้าง” ในทางปฏิบัติในโลกจริง คำพูดแบบนี้ไม่ใช่คำพูดของคนที่เป็นกลางแต่อย่างใด แต่เป็นคำพูดที่ลดความรับผิดชอบของฝ่ายรัฐบาลอย่างเดียว คือพยายามแก้ตัวแทนรัฐบาลอำมาตย์นั้นเอง และถ้าเราดูประวัติของคนเหล่านี้ที่พูดให้ทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบ ส่วนใหญ่เป็นคนที่สนับสนุนพันธมิตรฯ หรือรัฐประหาร ๑๙ กันยา หรืออย่างน้อย “สบายใจมากขึ้นเมื่อเกิดรัฐประหาร” ทั้งๆ ที่แก้ตัวเสมอว่า “ไม่ชอบรัฐประหาร”
ประเด็นที่สองคือ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและกระบวนการประชาธิปไตยแต่อย่างใด มาจากการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา และรัฐประหารเงียบของศาลหลายรอบ มาผ่านรัฐธรรมนูญทหาร รวมถึงการกดดันของพันธมิตรฯ ดังนั้นรัฐบาลไร้ความชอบธรรมที่จะปกครองประเทศ และไร้ความชอบธรรมที่จะคัดค้านข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงให้ยุบสภาและคืนอำนาจให้ประชาชนโดยสิ้นเชิง ประเด็นนี้มักถูกมองข้ามด้วยความจงใจ โดยเฉพาะจากคนชั้นกลาง พันธมิตรฯ เอ็นจีโอ และนักวิชาการ ที่มองว่าพลเมืองไทยส่วนใหญ่ที่เป็นคนจนไม่มีวุฒิภาวะที่จะลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง เขาจึงคัดค้านการเลือกตั้งเสรี
การที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ทำให้การประท้วงยืดเยื้อของคนเสื้อแดงและการปิดถนนบางจุดในกรุงเทพฯ มีความชอบธรรม และที่สำคัญรัฐบาลอภิสิทธิ์มีวิธีเดียวที่จะอยู่ต่อและไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่คือ ประกาศภาวะฉุกเฉิน ใช้กองกำลังเพื่อหวังปราบผู้ชุมนุม และปิดกั้นเซ็นเซอร์สื่อตามกระบวนการเผด็จการของ “รัฐตำรวจ” เพราะเขาไม่กล้าคืนอำนาจให้ประชาชน เขารู้ว่าเขาจะแพ้การเลือกตั้ง และเขารู้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความศรัทธาในรัฐบาล อย่าลืมว่าการยุบสภาและจัดการเลือกตั้งทันที จะยุติภาวะตึงเครียดในกรุงเทพฯ และถ้าการเลือกตั้ง “จะไม่แก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมในระยะยาว” ก็เพราะฝ่ายเสื้อเหลืองและอำมาตย์ไม่ยอมเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเท่านั้น
ประเด็นที่สามคือเรื่องการ “กบฏ” เพราะฝ่ายเสื้อเหลืองอ้างว่าเสื้อแดงเป็น “กบฏ” คำถามที่ต้องถามต่อคือ “กบฏต่อใครหรืออะไร?” ใช่ครับคนเสื้อแดงกบฏต่อเผด็จการอำมาตย์ กบฏต่อพวกนายพลในกองทัพ แต่ประเด็นคือ อำมาตย์และกองทัพกบฏต่อประชาชน คนเสื้อแดงกำลังปกป้องพลเมืองไทยจากการกบฏไม่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่าลืมว่าในระบอบประชาธิปไตยอำนาจอธิปไตยต้องอยู่ที่ประชาชน ใครไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ถือว่ากบฏต่อระบบการปกครองประชาธิปไตย มันง่ายที่จะเข้าใจครับถ้าจริงใจในการเข้าใจ

ตอนนี้สังคมไทยแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งกบฏต่อประชาชนเพื่อปกป้องอภิสิทธิ์ของตนเอง พร้อมจะใช้กองกำลังติดอาวุธสงครามและการปกปิดสื่อเพื่อครองอำนาจต่อไป อีกฝ่ายประกอบไปด้วยพลเมืองธรรมดาที่ต้องการประชาธิปไตย ในสถานการณ์แบบนี้ที่เรื้อรังมาสี่ห้าปีแล้ว ใครที่ไม่อยู่ข้างคนเสื้อแดงก็อยู่ข้างอำมาตย์ และใครที่อ้างว่าเป็นกลาง เป็นคนที่ไม่สนใจการเมืองและสังคมเลย หรือเป็นคนโกหก

Saturday 10 April 2010

มีไว้ทำไม สถาบันกษัตริย์??

มีไว้ทำไม สถาบันกษัตริย์??
ฝ่ายอำมาตย์ทำสงครามกับเรา เราไม่ต้องจงรักภักดีต่อมันอีกแล้ว
ใจ อึ๊งภากรณ์


คนที่รักเจ้าชอบพูดว่ากษัตริย์อยู่ในหัวใจคนไทย แต่ขอถามว่าคนไทยอยู่ในหัวใจนายภูมิพลหรือ?
คนรักเจ้าชอบพูดว่าเราอยู่เย็นเป็นสุขเพราะกษัตริย์ แต่ขอถามว่าในวิกฤตการเมืองปัจจุบันและอดีต นายภูมิพลสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างไร? สร้างให้ใครกันแน่? เพราะได้แต่เข้าข้างทหารป่าเถื่อนเผด็จการที่เข่นฆ่าประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ๑๔ ตุลา ๖ ตุลา พฤษภา ๓๕ และเมษายน ๕๒,๕๓
นายภูมิพลและครอบครัวได้แต่กอบโกยความร่ำรวยให้ตนเองและพรรคพวก ในขณะที่สอนให้คนจน“พอเพียง”ในความจน แล้วยังหน้าด้านรับเงินภาษีจากคนจนเพื่อเสริมสมบัติตนเอง และเมื่อมารปล้นขโมยประชาธิปไตยของประชาชนนายภูมิพลก็เงียบเฉยหรือชมเผด็จการ
ผมเข้าใจความรู้สึกของคนที่มองว่าถ้าเราไม่จงรักภักดี เขาจะมีข้ออ้างในการยิงเรา ลองคิดดูครับ เขาบังคับให้เรารักกษัตริย์ด้วยกระบอกปืน!! แต่ไม่ว่าจะเป็น ๑๔ ตุลา, ๖ ตุลา, พฤษภา ๓๕ หรือปัจจุบัน อำมาตย์ก็ยิงเข่นฆ่าประชาชน ไม่ว่าเราจะประกาศความจงรักภักดีแค่ไหน
บางคนบอกว่าเราควรเชิดชูหรือปล่อยให้ลูกชายนิสัยเสียของนายภูมิพล ขึ้นมาเป็นกษัตริย์หลังจากที่ภูมิพลตาย เพราะเขาเชื่อว่าประชาชนยังรักเจ้าอยู่ และถ้านายวชิราลงกรณ์ขึ้นมา ประชาชนจะเสื่อมศรัทธาในสถาบัน ผมขอเสนอว่าเสียเวลาและไม่จำเป็นครับ ตอนนี้ถึงเวลาสุกงอมแล้วที่จะเปิดศึกกับลัทธิกษัตริย์ของอำมาตย์ทั่วแผ่นดิน
คนจำนวนมากเริ่มหูตาสว่าง ฝ่าเมฆควันดำแห่งการกล่อมเกลา มองเห็นว่านายภูมิพลและครอบครัวไม่ใช่เทวดา หลายคนมองว่าเป็นมารผู้กำกับทหาร แต่คนอย่างผมมองว่านายภูมิพลมีบทบาทอื่น เป็น “หัวหน้าความคิดลัทธิกษัตริย์”เพื่อให้เราจงรักภักดีต่อทหารอำมาตย์ ศาลอำมาตย์ และอภิสิทธิ์ชนอำมาตย์ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร เราก็ต้องกวาดสถาบันกษัตริย์ออกไปจากสังคม เพื่อโค่นอำมาตย์ ..... แต่อย่าลืมพวกนายพลอำมาตย์ที่เข่นฆ่าประชาชน เพราะพวกนี้ ตั้งแต่พลเอกเปรมลงมา ล้วนแต่กดขี่ประชาชนมานาน ทหารคือภัยต่อสังคม แต่ทหารเกณฑ์เป็นพี่น้องของเรา
การสู้กับอาวุธของทหารต้องใช้พลังมวลชนและการนัดหยุดงาน ต้องลุกเป็นไฟทั้งแผ่นดิน แต่การสู้กับลัทธิกษัตริย์ ง่ายมาก แค่สลัดความคิดออกจากหัวเราและชักชวนคนอื่นให้ทำเช่นกัน และจะทำให้ฝ่ายอำมาตย์อ่อนแอเสมือนขาดแขนขาไปข้างหนึ่ง เพราะไร้ความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง
จะรักนายภูมิพลไปทำไม? ถ้ารักหรือจงรักภักดี ก็แค่ลงไปหมอบคลานต่อลัทธิอำมาตย์ที่กำลังเข่นฆ่าเราอยู่ ถ้าเราสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ แต่ยังมีเชื้อพิษของลัทธิกษัตริย์ฝังอยู่ในหัวเรา ก็เท่ากับมัดมือตัวเองสู้ ถึงเวลาที่เราต้องยืนขึ้นสู้ด้วยแขนขาสองข้างและหูตาสว่าง เราต้องสู้เพื่อสร้างรัฐไทยใหม่แห่งความเท่าเทียม ไม่มีทหารดูดเลือดประชาชน ไม่มีราชวงศ์กาฝาก ไม่มี “ผู้ใหญ่” คอยกดทับพลเมือง ไม่มีนักวิชาการคอยดูถูกว่าประชาชนโง่ ไม่มีสื่อบิดเบือนความจริง ไม่มีสองมาตรฐานทางกฎหมาย ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

พวกเรามีจำนวนมากมหาศาล ถ้าเราถุยน้ำลายพร้อมกันอำมาตย์จะจมน้ำตาย ถึงเวลาที่จะปลดแอกตัวเองจากลัทธิทาสของการจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ถุยน้ำลายสลัดทิ้ง! คนไทยไม่ใช่ทาส!

Tuesday 6 April 2010

พวกดัดจริตอ้างเป็นกลาง

พวกดัดจริตอ้างเป็นกลาง
ใจ อึ๊งภากรณ์

ผมเชื่อมานานแล้วว่าคนที่อันตรายที่สุดเป็นพวกที่อ้างว่า “เป็นกลาง” เพราะในโลกจริง เมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญๆ เกิดขึ้น คนที่เป็นกลาง หรือคนที่ไม่มีจุดยืนใดๆ มีแค่สองประเภทคือ 1.คนโกหก หรือ 2.คนปัญญาอ่อนที่ไม่รู้เรื่องและไม่สนใจจะรู้เรื่องอะไร ประเภทที่อันตรายสุดคือพวกโกหกว่าเป็นกลาง
ในแวดวงวิชาการ มักจะมีการหลงตนเองคิดว่าตัวเก่งกว่าผู้อื่นหรือเข้าใจอะไรด้วยเหตุผล ไม่เหมือนไพร่ประชาชนธรรมดา แถมยังมีการสร้างภาพเท็จว่าตัวเอง “เป็นกลาง” ทั้งๆ ที่ทุกคนมีความเห็นและอคติต่างๆ เหมือนคนอื่น เวลาสอนหนังสือพวกนี้จะอ้างว่าไม่มีจุดยืนทางการเมือง แต่เนื้อหาที่สอนมันฟ้องเอง เพราะมีแต่การเสนอด้านเดียว และมีการกล่าวหาว่าคนที่มองต่างจากกระแสกหลักคือพวก “หัวรุนแรง” ที่จุฬาฯ นักวิชาการส่วนใหญ่เป็นพวกเสื้อเหลืองที่สนับสนุนอำมาตย์ พวกนี้คิดว่านักวิชาการฝ่ายซ้ายอย่างผมจะต้อง “ล้างสมอง” นิสิตนักศึกษา เพราะเวลาเขาเองสอนและตรวจงานนักศึกษา เขาไม่มีวันให้ “A” หรือ คะแนนเต็มร้อยกับงานเขียนที่อาจารย์ไม่เห็นด้วย เขาไม่เข้าใจว่านักวิชาการที่ประกาศจุดยืนตนเองชัดเจนว่าเป็นซ้าย แต่ให้คะแนนเต็มกับความคิดที่ตรงข้ามกับตนเอง เป็นการสร้างกบฏต่อระบบอาวุโสเพื่อให้นักศึกษาคิดเองเป็น
นักวิชาการสายรัฐศาสตร์จำนวนมาก จะสอนว่าวิธีขยายพื้นที่ประชาธิปไตยคือการเคลื่อนไหวของ “ประชาสังคม” หรือการเคลื่อนไหวของประชาชนพลเมืองธรรมดาที่อิสระจากรัฐ โดยมีการคัดค้านเผด็จการหรือการลดทอนสิทธิเสรีภาพโดยรัฐ แต่ตอนนี้ดูเหมือนนักวิชาการจำนวนมากที่อ้างตัว “เป็นกลาง” แยกไม่ออกระหว่างสองฝ่ายที่มีความสำคัญในวิกฤตปัจจุบัน ฝ่ายที่หนึ่งคือพลเมืองธรรมดาชาวบ้านชาวเมืองเสื้อแดง ซึ่งเป็นคนยากจน เขามีจำนวนมากและเขาเรียกร้องประชาธิปไตย ส่วนฝ่ายที่สองคือทหารที่ทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา อภิสิทธิ์ชน รัฐบาลที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้ง และขบวนการชนชั้นกลางที่ใช้ความรุนแรงเพื่อสร้าง “การเมืองระเบียบใหม่” ของเผด็จการซึ่งลดเสียงประชาชนในการเลือกตั้ง
ผมไม่ได้พูดเรื่องนักวิชาการเสื้อเหลืองที่ไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตย พวกนั้นแสดงจุดยืนตรงไปตรงมา และคงสอดคล้องกับผลประโยชน์ทางชนชั้นของเขาในฐานะอภิสิทธิ์ชน
ผมพูดถึงคนที่อยากใส่เสื้อสีขาว พูดแต่เรื่องสันติวิธีแต่ไม่วิจารณ์ทหาร อ้างว่าเป็นกลาง แล้วเสนอให้ยุบสภาภายในสามเดือน ซึ่งเป็นการพยายามประนีประนอมระหว่างจุดยืนรัฐบาลเผด็จการกับฝ่ายประชาธิปไตย และผลของการประนีประนอมแบบนั้นต้องจบด้วยระบบ “กึ่งเผด็จการ”
ในห้องเรียนถ้าท่านสอนเรื่องประชาสังคมและประชาธิปไตย แต่พอก้าวออกไปนอกห้องในโลกจริง ไม่สามารถมองเห็นประชาสังคมในแววตาคนเสื้อแดงจำนวนมาก มันก็แปลว่าท่านล้มเหลวในวิชาการแล้ว
การเรียกร้องให้ยุบสภา เพื่อให้ประชาชนตัดสินว่าอยากได้พรรคไหนเป็นรัฐบาล เป็นมาตรการประชาธิปไตยชัดเจน แน่นอนมันมีปัญหาระยะยาวว่าอำนาจอำมาตย์ของทหาร ศาล ข้าราชการ และสถาบันหลักๆ ก็ยังอยู่ และเขาก็สามารถทำลายประชาธิปไตยได้อีกเสมอ พร้อมกันนั้นแนวร่วมชนชั้นกลางของพันธมิตรฯ ที่ชื่นชมเผด็จการก็จะยังอยู่ แต่การยุบสภาเป็นก้าวแรก ถ้าใครคัดค้านเพราะไม่ไว้ใจประชาชนตาดำๆ ในวันเลือกตั้ง ก็แปลว่าท่านไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตย
นักวิชาการที่ดัดจริตอ้างตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพียงแต่ไปยืนอยู่ห่างๆ จากประชาสังคมของประชาชน คิดว่าการเป็นกลางของตนเองเพิ่มน้ำหนักและเหตุผลให้กับแถลงการณ์ที่เขาเสนอให้สังคม แต่ความจริงมันตรงข้าม ถ้าใครรักประชาธิปไตยและไม่สนับสนุนคนเสื้อแดงในยามวิกฤตนี้ ความเห็นของท่านไร้ค่าในการขยายประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ตอนนี้อ้างตัวเป็นกลางเพื่อ “ช่วยหาทางออกให้สังคม” ได้ทำลายความน่าเชื่อถือโดยสิ้นเชิงนานแล้ว เพราะแต่งตั้งจากผลของรัฐประหาร ไม่ยอมคัดค้านการขู่ใช้กำลังของทหาร ไม่ยอมพูดถึงการเซ็นเซอร์สื่อหรือกฎหมายหมิ่นฯ แถมยังสวมเสื้อเหลืองสนับสนุนพันธมิตรฯ ฝ่ายองค์กรเอ็นจีโอหลักๆ ก็เช่นกัน ออกประกาศเพื่อปกป้องคนชั้นกลางรักเผด็จการในอดีต แต่ตอนนี้หันหลังให้คนจนเสื้อแดง กลายเป็นกองเชียร์ของอำมาตย์อย่างเบ็ดเสร็จ
ในยามที่อำมาตย์นำทหารมาล้อมประชาชนที่เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ใครไม่ยืนข้างประชาชนเสื้อแดงโดยไม่มีเงื่อนไข ถือว่าคนนั้นคัดค้านประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ และความเท่าเทียมทางสังคม

Monday 29 March 2010

ความเห็นต่อการเจรจารอบสองระหว่างรัฐบาลกับคนเสื้อแดง

ความเห็นต่อการเจรจารอบสองระหว่างรัฐบาลกับคนเสื้อแดง
ใจ อึ๊งภากรณ์

อภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อเรียกร้องว่าต้องยุบสภาใน 15 วัน แถมยังเพิ่มเงื่อนไขมาว่าต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งได้ นอกจากนี้มีการเสนอว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญ และจัดประชามติก่อนที่จะยุบสภา พูดง่ายๆ มีการยืดเวลาออกไปอย่างน้อย 9 เดือนและอาจยืดไปถึงหนึ่งปีเก้าเดือน ครบวาระรัฐบาลเถื่อนพอดี พร้อมกันนั้นอภิสิทธิ์ก็โกหกตามเคยว่าไม่มี “สองมาตรฐาน” ในการใช้กฎหมายในเมืองไทย
วันนี้ฝ่ายเราดูเหมือนอ่อนแอกว่าวันก่อน เราไม่ได้อะไรเลยจากการเจรจา
อภิสิทธิ์ท้าโดยถามว่าเราควรจะให้มีประชามติว่าควรยุบสภาหรือไม่ จริงๆ แล้วฝ่ายเสื้อแดงควรรับคำท้านี้โดยเสนอให้มีประชามติทันทีให้เลือกระหว่างข้อเสนอของเสื้อแดงและของอภิสิทธิ์
ประเด็นที่เราต้องจับตาตรวจสอบต่อไปคือ ฝ่ายรัฐบาลเสนอให้คุยต่อในอนาคตในที่ลับ ถ้าแกนนำเสื้อแดงรับข้อเสนอนี้อาจจะเป็นการถอยหลังเพื่อหาทางยอมจำนน
ในสถานการณ์แบบนี้ คนเสื้อแดงจะต้องเพิ่มความเข้มข้นในการชุมนุม ไม่ว่าจะกลับบ้านไปพักผ่อนก่อนหรือไม่ การเพิ่มความเข้มข้นหมายความว่าเราต้องเพิ่มข้อเรียกร้องทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องปากท้องที่เป็นประโยชน์กับคนจน ต้องขยายฐานมวลชนสู่สหภาพแรงงานและนายทหารระดับล่าง และต้องเริ่มเผยตัวมากขึ้นว่าเราไม่จงรักภักดีต่อระบบอำมาตย์และพร้อมจะสู้ระยะยาวเพื่อล้มมัน
อย่างไรก็ตาม ผมไม่เห็นด้วยกับจุดยืน อ.สุรชัย ที่ใช้เรื่องส่วนตัวด่าแกนนำสามเกลอ โดยไม่เสนอทางออกเป็นรูปธรรมสำหรับคนเสื้อแดง และโดยไม่พยายามรักษาความสามัคคี การวิจารณ์แบบนั้นท่ามกลางการต่อสู้ของมวลชนเป็นเรื่องที่ผิดพลาดและทำให้แนวปฏิวัติของสยามแดงเสียการเมือง คนเสื้อแดงที่อยากโค่นล้มอำมาตย์ควรตัดความสัมพันธ์กับอ.สุรชัย

Sunday 28 March 2010

การเจรจาระหว่าง นปช. กับ อภิสิทธิ์

การเจรจาระหว่าง นปช. กับ อภิสิทธิ์
ใจ อึ๊งภากรณ์

การเจรจาระหว่าง นปช. กับอภิสิทธิ์ มีจุดเด่นตรงที่มันเป็นผลของการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่ของเสื้อแดง และที่น่าทึ่งคือพลังเสื้อแดงสามารถบังคับให้อภิสิทธิ์เจรจาถ่ายทอดสดต่อหน้าประชาชน ทำให้เรานึกถึงภาพการเจรจาถ่ายทอดสดระหว่างรัฐบาลเผด็จการคอมมิสนิสต์โปแลนด์กับสหภาพแรงงาน Solidarity ในทศวรรษที่ 80 การเจรจาถ่ายทอดสดมีประโยชน์มาก เพราะเปิดโปงจุดยืนของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน ไม่สามารถมีการบิดเบือนโดยสื่อ และผู้แทนประชาชนไม่สามารถไปทำข้อตกลงลับหลังมวลชนได้ ดังนั้นเราต้องเรียกร้องให้การเจรจาเป็นแบบนี้ทุกครั้ง
อภิสิทธิ์ถูกเปิดโปงว่าสนับสนุนกระบวนการทุกอย่างที่มาจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา และการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร ทั้งๆ ที่พยายามโกหกว่าไม่สนับสนุนรัฐประหาร มีการโกหกอีกว่าเขาเป็นนายกประชาธิปไตย ไม่มีการขึ้นมาโดยทหารหนุนหลัง และเขาตอบไม่ได้ว่าประเทศไทยอยู่ภายใต้อำมาตย์หรือไม่ นี่คือธาตุแท้ของอภิสิทธิ์
อภิสิทธิ์พยายามซื้อเวลาในการเจรจา โดยการปฏิเสธการยุบสภา ข้ออ้างของเขาคือต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน และต้องสร้างความสงบสุขในสังคมก่อนที่จะมีการเลือกตั้งได้ ซึ่งแปลว่ารอไปอีกนาน
ฝ่ายแกนนำเสื้อแดงเสนอว่าการยุบสภาทันที เพื่อให้ประชาชนทั้งปวงมีสิทธิ์กำหนดว่าจะแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร และกำหนดว่ารัฐบาลควรใช้นโยบายการปกครองแบบไหน ตามกระบวนการประชาธิปไตย มีน้ำหนักมาก ฝ่ายรัฐบาลมีแต่ข้ออ้างว่าทำไมไม่ควรยุบสภา อภิสิทธิ์บอกว่าต้องไปถามพันธมิตรฯและคนอื่นก่อนที่จะตัดสินอะไร แต่ฝ่ายเสื้อแดงบอกว่าในเมื่อพันธมิตรฯมีพรรคการเมือง ก็ให้ทดสอบในการเลือกตั้งไปเลย ส่วน กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาฯนายกพูดว่าถ้ามีการเลือกตั้ง พรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดไม่ควรมีสิทธิ์แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งแสดงว่ากอร์ปศักดิ์ไม่เคารพประชาชนและประชาธิปไตย นอกจากนี้กอร์ปศักดิ์ยังบิดเบือนประวัติศาสตร์โดยการบอกว่า “ทุกฝ่ายไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในอดีต” จริงๆ แล้วมีแค่ฝ่ายพันธมิตรฯ ทหาร อำมาตย์ และประชาธิปัตย์ที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง
การเรียกร้องให้ยุบสภาเป็นข้อเรียกร้องที่ทุกคนควรจะยอมรับได้ แต่ภายในเสื้อแดงเองเราก็คงเถียงกันต่อว่ามันจะแก้ไขหรือล้มอำนาจอำมาตย์ได้หรือไม่ในระยะยาว ผมเชื่อว่าเราต้องสู้ไปไกลกว่านี้
ไม่ว่าจะมีการยุบสภาหรือไม่ พรรคเพื่อไทยต้องเสนอนโยบายใหม่ๆ ที่สามารถครองใจคนจนได้ ไม่ว่าจะเป็นรัฐสวัสดิการ การขึ้นค่าแรง การช่วยเกษตรกร การสร้างสันติภาพในภาคใต้ฯลฯ ไม่ใช่แค่ย่ำอยู่กับที่และอาศัยบารมีเก่าของทักษิณ ถ้าพรรคเพื่อไทยไม่พร้อมจะทำตรงนี้ คนเสื้อแดงควรพิจารณาสร้างพรรคเสื้อแดงที่ก้าวหน้ากว่าพรรคเพื่อไทยโดยเน้นการปลุกระดมมวลชน การหันหลังให้มวลชนหรือไปแอบทำอะไรใต้ดินไม่ใช่คำตอบด้วย นอกจากนี้เราต้องชนกับลัทธิอำมาตย์อย่างชัดเจน ไม่ใช่ขอให้ประชาชนจงรักภักดีในขณะที่เสื้อแดงส่วนใหญ่เบื่อกับการจงรักภักดี คนอย่างหมอเหวงไม่ควรเสียเวลากับการนำเรื่องประมุขแบบอังกฤษมาพูดในการเจรจา เพื่อพิสูจน์ความจงรักภักดี และแกนนำคนอื่นควรเลิกจุดธูปบนเวทีไหว้เทวดาซึ่งไม่มีจริง
แกนนำ นปช. ตั้งคำถามกับอภิสิทธิ์ว่าเขาจะปกครองประเทศได้ไหมถ้าไม่ยุบสภา? ถ้ามันไม่ยุบ เราชาวเสื้อแดงต้องทำให้รัฐอำมาตย์ปกครองประเทศไม่ได้

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ถือตัวเองสำคัญกว่าภาระการต่อสู้
คำพูดของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ใน นสพ. คมชัดลึก (28มีนาคม) ไม่ต่างจากคำพูดของอภิสิทธิ์ในการวิจารณ์แกนนำ นปช. และเป็นคำพูดที่ฝ่ายเสื้อเหลืองนำมาเชิดชูด้วยความดีใจ นี่คือสิ่งที่พิสูจน์ว่าสุรชัยให้ความสำคัญกับข้อขัดแย้งส่วนตัวที่ตนมีกับสามเกลอ แทนที่จะแยกแยะว่าศัตรูหลักคือใครและเสนอก้าวต่อไปอย่างสร้างสรรค์ ชาวเสื้อแดงสายปฏิวัติที่ต้องการล้มระบบอำมาตย์เพื่อได้มาประชาธิปไตยแท้ ควรจะร่วมกันประณามพฤติกรรมของสุรชัย และแยกตัวออกจากคนนี้อย่างชัดเจน

Wednesday 24 March 2010

สยามแดงเสี่ยงกับการเสียการเมืองแนวร่วม
ใจ อึ๊งภากรณ์ แดงสังคมนิยม

การทำแนวร่วมระหว่างนักปฏิรูป(ผู้ที่อยากประนีประนอม) กับนักปฏิวัติ(ผู้ที่อยากเปลี่ยนระบบแบบถอนรากถอนโคน) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ศีลปะทางการเมืองและต้องอาศัยการวิเคราะห์และการเรียนบทเรียนจากอดีต เรื่องนี้นักมาร์คซิสต์ศึกษามานาน

นักปฏิวัติต้องเข้าใจว่าทำไมมวลชนจำนวนมากเดินตามแนวปฏิรูป

นักมาร์คซิสต์มองว่าความคิดกระแสหลักในสังคม มักจะเป็นความคิดของชนชั้นปกครองที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพราะมีการกล่อมเกลาทางสื่อ โรงเรียน หรือครอบครัว และมีการสั่งสอนตลอดว่าคนธรรมดาไร้ความสามารถและอ่อนแอ ดังนั้นเราถูกชักชวนให้มอบอำนาจทางความคิดให้กับชนชั้นปกครองอย่างต่อเนื่อง นี่คือสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มองว่าระบบสังคมที่ดำรงอยู่เป็นสภาพ “ปกติ” และกลัวที่จะปฏิวัติ และเราไม่ควรหลงคิดว่าเขาคิดแบบนี้เพราะเขา “โง่” หรือ “ขาดความกล้าหาญ” และเราไม่ควรเสนออย่างกลไกตื้นเขินว่าแกนนำที่เสนอแนวปฏิรูป เช่นสามเกลอ เป็นแนวปฏิรูปเพราะ “ได้รับเงิน” หรือ “มีข้อตกลงลับเรื่องผลประโยชน์กับอำมาตย์” คำพูดผิดๆแบบนี้ ซึ่งมาจากคนอย่างอาจารย์ชูพงษ์ เป็นข้อกล่าวหาที่ไร้สาระ มันนำไปสู่ความแตกแยกโดยไม่จำเป็น
ในยามที่มีความขัดแย้งและการต่อสู้เกิดขึ้น คนจำนวนมากจะเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งที่ถูกเสนอมาจากชนชั้นปกครอง เพราะเห็นชัดว่าไม่ตรงกับความจริง และมันไม่เป็นธรรม การรวมตัวกันต่อสู้ในกลุ่มมวลชนขนาดใหญ่ทำให้คนในขบวนการ เช่นขบวนการเสื้อแดง มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และพร้อมที่จะคิดทวนกระแสหลัก
อย่างไรก็ตามนักมาร์คซิสต์หลายคน เช่น อันโตนิโอ กรัมชี่ อธิบายว่าในขั้นตอนแรก เมื่อคนลุกขึ้นสู้และพร้อมจะคิดทวนกระแส เพื่อสร้างประชาธิปไตยหรือความเป็นธรรม เขาย่อมคิดสู้ในกรอบกว้างๆ ของสังคมเก่าที่ดำรงอยู่ พูดง่ายๆ เขายังไม่ได้สลัดความคิดของชนชั้นปกครองออกหมด เขาเลยสู้เพื่อทำให้สังคมที่ดำรงอยู่ดีขึ้น เสรีมากขึ้น และเป็นธรรมมากขึ้น ปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเสมอ และเป็นความบริสุทธิ์ใจของมวลชน
นักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน หรือ ตรอทสกี เสนอว่ามวลชนที่ยึดแนวปฏิรูปจะหันไปสนับสนุนการปฏิวัติต่อเมื่อ
1. มีวิกฤตทางสังคม โดยที่ชนชั้นปกครองถืออำนาจต่อไปในรูปแบบเดิมยาก
2. มวลชนที่ถูกปกครองไม่พอใจที่จะถูกปกครองต่อไป
3. นักปฏิวัติที่จัดตั้งเป็นพรรคปฏิวัติสามารถเสนอทางออกเป็นรูปธรรมในการต่อสู้

นักปฏิวัติควรมีความสัมพันธ์กับนักปฏิรูปอย่างไร?

ถ้านักปฏิวัติจะเริ่มครองใจมวลชนให้เดินตามแนวปฏิวัติ เขาต้องมีความสัมพันธ์กับมวลชนที่มีความคิดปฏิรูป ซึ่งไม่เหมือนกับการมีความสัมพันธ์กับแกนนำสายปฏิรูป และแน่นอนนักปฏิวัติต้องไม่ใช้วิธีแบบปัจเจก เช่นการวางระเบิดหรือการตั้งกองกำลังติดอาวุธของคนไม่กี่คน
ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ มีตัวอย่างความผิดพลาดของการสร้างความสัมพันธ์หรือแนวร่วม โดยมีสองกรณีสุดขั้วที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้คือ
1. การแยกตัวออกโดยสิ้นเชิงจากมวลชน ไม่หาทางร่วมมือเลย และด่าแกนนำและวิธีต่อสู้ของเขาอย่างเดียว เพื่อพิสูจน์ “ความเป็นนักปฏิวัติที่กล้าหาญและบริสุทธิ์” ตัวอย่างที่ดีคือกรณีที่พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมันภายใต้การนำของสตาลิน ไม่ยอมสามัคคีกับมวลชนพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมันในยุคค.ศ. 1930 ความแตกแยกระหว่างมวลชนที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสทองที่เปิดประตูให้ฮิตเลอร์และพวกนาซียึดอำนาจได้ และนำไปสู่ความหายนะของภาคประชาชน ประชาธิปไตย และสงครามโลกครั้งที่สอง ในไทยการหันหลังให้กับนักศึกษาและกรรมาชีพในเมืองในปี ๒๕๑๙ เพื่อไปตั้งฐานรบในป่าของพรรคคอมมิวนิสต์ เปิดโอกาสให้อำมาตย์ก่อเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา โดยไม่มีการออกมาสู้ในเมือง
2. ขั้วตรงข้ามคือการทำแนวร่วมแบบ “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ระหว่างแนวปฏิวัติกับแนวปฏิรูป ในรูปธรรมมันหมายความว่าแนวปฏิวัติไปเกาะอยู่กับแกนนำปฏิรูป โดยเชียร์อย่างเดียว ไม่วิจารณ์เลย ตัวอย่างเช่นคนที่เชียร์ทักษิณโดยไม่วิจารณ์ คนที่เน้นการทำแนวร่วมกับแกนนำมากกว่ามวลชน หรือคนที่ไม่ยอมเสนอมาตรการที่เป็นประโยชน์กับชนชั้นกรรมาชีพหรือเกษตรกรรายย่อย เพราะกลัวจะเสียแนวร่วมที่มีกับนักธุรกิจหรือชนชั้นกลาง เช่นไม่กล้าเสนอรัฐสวัสดิการ การขึ้นค่าแรง หรือการใช้รัฐช่วยการผลิตของเกษตรกรรายย่อย การกระทำแบบนี้จะตัดกำลังใจในการต่อสู้ของมวลชนชั้นล่าง และจะทำให้ขยายมวลชนในกลุ่มคนที่ถูกกดขี่ขูดรีดไม่ได้ มันทำให้นักปฏิวัติถวายการนำให้แกนนำปฏิรูป และตั้งความหวังไว้กับผู้ใหญ่ เช่นพวกนายพลหรือพวก “ท่านผู้หญิง” หรือแม้แต่ญาติของอำมาตย์แก่ ตัวอย่างจากต่างประเทศก็เช่นท่าทีของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียกับประธานาธิบดีซุการ์โน ซึ่งนำไปสู่ความพ่ายแพ้ล้มตายของมวลชนเป็นล้านในปีค.ศ. 1965

นักปฏิวัติต้องร่วมเดินร่วมสู้กับมวลชนปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง ต้องให้กำลังใจและสามัคคี แต่ในขณะเดียวกันต้องใช้เวลาถกเถียงแลกเปลี่ยนถึงแนวทาง ซึ่งต้องอาศัยนักปฏิบัติการที่ไปคุยโดยตรง แจกใบปลิว และทำหนังสือพิมพ์ และในขณะที่นักปฏิวัติวิจารณ์แกนนำสายปฏิรูป เรามีภารกิจในการค่อยๆพิสูจน์ต่อมวลชนอย่างเป็นรูปธรรมว่าแนวปฏิวัติใช้งานได้ดีกว่าแนวปฏิรูป นักปฏิวัติควรร่วมสู้กับ นปช. พร้อมกับการเสนอแนวทางการต่อสู้เป็นรูปธรรม ไม่ควรแยกตัวออกไปอยู่ในที่ห่างไกลอย่างที่พวกสยามแดงกำลังจะทำ

ข้อเสนอของฝ่ายปฏิวัติ เพื่อขยายการต่อสู้ทางชนชั้น
1. ชนกับอำมาตย์ และท้าทายอำมาตย์ ในเรื่องนโยบายการเมืองที่เป็นรูปธรรม เสนอรัฐสวัสดิการ การขึ้นค่าแรงเป็นหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน การส่งเสริมระบบสหภาพแรงงาน การสร้างระบบเกษตรพันธสัญญากับองค์กรรัฐที่ควบคุมโดยชาวบ้าน การสร้างสันติภาพบนพื้นฐานความเคารพและความยุติธรรมในสามจังหวัดภาคใต้ การปฏิรูปกองทัพโดยการปลดนายพลออกและพัฒนาฐานะทหารระดับล่าง หรือการปฏิรูประบบศาลโดยการนำระบบลูกขุนมาใช้
2. ชนกับอำมาตย์ด้วยลัทธิความคิด คือชักชวนให้มวลชนเลิกจงรักภักดีกับอำมาตย์โดยสิ้นเชิง
3. ขยายฐานคนเสื้อแดงสู่สหภาพแรงงานและทหารเกณฑ์
4. สร้างหน่ออ่อนของอำนาจคู่ขนาน เพื่อแข่งกับรัฐอำมาตย์ในทุกพื้นที่ทุกชุมชน

Saturday 20 March 2010

การชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นประวัติศาสตร์อันน่าทึ่ง


การชุมนุมของคนเสื้อแดงเป็นประวัติศาสตร์อันน่าทึ่ง
ใจ อึ๊งภากรณ์
“เสื้อแดงสังคมนิยม” และสมาชิกคนเสื้อแดงอังกฤษ(แสดงทัศนะส่วนตัว)

การชุมนุมครั้งใหญ่ของคนเสื้อแดงในเสาร์อาทิตย์ 13/14 มีนาคม เป็นการสำแดงพลังอันยิ่งใหญ่ของขบวนการประชาธิปไตยไทย มันเป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่าคนเสื้อแดงจะไม่หายไปไหน และเราไม่ใช่แค่ตัวแทนของคนส่วนน้อยในสังคมอีกด้วย การชุมนุมครั้งนี้ช่วยถล่มนิยายว่าคนกรุงเทพฯเป็นเสื้อเหลืองหรือไม่สนใจประชาธิปไตย เพราะเราเห็นภาพเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล คนงานก่อสร้าง คนงานโรงงาน พระสงฆ์ และประชาชนโดยทั่วไปในกรุงเทพฯ ที่ออกมาร่วมการชุมนุม สื่อมวลชนต่างประเทศบางฉบับถึงกับเสนอว่าภาพการชุมนุมครั้งนี้เป็นภาพของขบวนการ “ปลดแอกประชาชนกรุงเทพฯ จากอำนาจเผด็จการ”
การชุมนุมครั้งนี้เกิดขึ้นได้ก็เพราะคนธรรมดานับแสน ร่วมกันทุ่มเทเงินทอง เวลา และพลังงานในการมาร่วม มีการเรี่ยรายเงินและทรัพยากรในชุมชนต่างๆ มีการแจกอาหารและเงินค่าน้ำมันโดยประชาชนธรรมดาในกรุงเทพฯ มันเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้และเพื่อหวังล้มอำมาตย์ และทั้งๆที่คนเสื้อแดงจำนวนมากรักทักษิณมากกว่าผู้นำชั้นสูงอื่นๆ ความรักนี้มีเหตุผล มันมาจากนโยบายรูปธรรมของพรรคไทยรักไทย มันไม่ได้มาจากความโง่เขลา และคนเสื้อแดงไม่ได้ถูกจูงถูกจ้างมาประท้วง เขาไม่ใช่เครื่องมือของทักษิณ และเขาสู้เพื่ออะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าทักษิณ
ขบวนการเสื้อแดงตอนนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นขบวนการที่คนยากคนจนทั่วประเทศร่วมสร้างขึ้นและมีส่วนร่วมสูงในสังคมเปิด ไม่ใช่การเคลื่อนไหวในป่าหรือในที่ลับ ขบวนการนี้มีตัวตนชัดเจนทั้งในเมืองและในชนบท ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต และมันมีลักษณะถาวรกว่าขบวนการประชาธิปไตยอื่นๆ เช่นขบวนการนักศึกษา

พฤติกรรม สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แสดงท่าที่อ่อนหัตถ์ทางการเมืองและเน้นการต่อสู้แบบปัจเจก เพราะในขณะที่มีการประท้วงอันยิ่งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของมวลชนเสื้อแดง อ.สุรชัยไม่เสริมสร้างกำลังใจให้มวลชนเลย ไม่มองว่าเขาคือพลังหลักในการเปลี่ยนสังคม ไม่มองว่าเขาเป็นมิตรที่ต้องถนอมรัก และไม่แนะนำทางต่อสู้ต่อไปในลักษณะสร้างสรรค์ มีแต่พูดในทำนองที่จะทำลายจิตใจคนเสื้อแดง และตัดความมั่นใจให้เสียขวัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ.สุรชัย ไม่สนใจที่จะมีส่วนร่วมกับมวลชนนับแสนที่ออกมาสู้ แต่อยากจะหันหลังให้มวลชน เพื่อเดินตามแนว “วีรชนเอกชน” ของการ “จับอาวุธ” ต่อสู้กับอำมาตย์ที่เคยประกาศ มันเป็น “การปฏิวัติแบบเด็กเล่น” ซึ่งจะแค่จบลงด้วยความพ่ายแพ้และความตายเท่านั้น
ส่วนเสธ. แดง ก็เป็นอันธพาลสามัญ ที่อาจสร้างความเสียหายให้ขบวนการเสื้อแดงได้ โดยการสร้างภาพเพื่อเอามัน ซึ่งจะจบลงด้วยละครตะลกท่ามกลางความพ่ายแพ้เท่านั้น

ก้าวต่อไป?
เราไม่ควรลืมว่าแกนนำ โดยเฉพาะสามเกลอ เป็นผู้ที่จุดประกายไฟให้เกิดคนเสื้อแดงแต่แรก และมีส่วนสำคัญในการชักชวนให้คนเสื้อแดงออกมาเป็นแสนที่กรุงเทพฯ แต่ในการต่อสู้ทุกขั้นตอนต้องมีการทบทวนประเมิน ทั้งยุทธวิธีและแกนนำด้วย แกนนำที่จะนำมวลชนไปสู่ชัยชนะ อาจเป็นแกนนำเดิมตลอด หรือจะเป็นแกนนำใหม่ก็ได้ มันไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิ์ มันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสามารถในขั้นตอนต่างๆ สิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับคำพูดของแกนนำปัจจุบันในการเคลื่อนไหวที่พึ่งผ่านมา คือมีการพูดถึงประเด็น “ชนชั้น” มากขึ้นอย่างชัดเจน การต่อสู้กับอำมาตย์เพื่อสร้างประชาธิปไตยเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น ระหว่างคนชั้นล่างที่เป็นกรรมาชีพและเกษตรกร กับชนชั้นปกครองที่เป็นอภิสิทธิ์ชน
แต่ประเด็นที่เราทุกคนต้องมาร่วมกันคิดอย่างรวดเร็วคือ ก้าวต่อไปควรจะเป็นอย่างไร? เพราะการชุมนุมสองสามวันยากที่จะล้มอำมาตย์และจัดการกับอำนาจกองทัพได้ และการยืดเยื้อเสี่ยงกับการที่คนจะทยอยกลับบ้านและหมดกำลังใจ แกนนำต้องไม่สร้างภาพนิยายของชัยชนะที่จะเกิดง่ายๆ ต้องไม่พามวลชนเดินไปในทางการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์มากเกินไป และต้องรู้จักถนอมกำลังกายและใจของมวลชน เพื่อให้เราสามารถสู้ในเกมส์ใหญ่ระยะยาวได้

รู้จักศัตรู
ศัตรูของประชาชนและศัตรูของประชาธิปไตยคืออำมาตย์ แต่อำมาตย์คืออะไร? มันเป็นระบบ มันประกอบไปด้วยหลายสถาบัน และมันมีลัทธิหรือชุดความคิดที่ใช้สร้างความชอบธรรมให้มัน ศัตรูไม่ใช่แค่พรรคประชาธิปัตย์หรือรัฐบาลอภิสิทธิ์ และไม่ใช่แค่องค์มนตรี การยุบสภาเป็นสิ่งที่เราอยากเห็น แต่มันจะไม่สะเทือนอำนาจอำมาตย์เลย เราได้บทเรียนจากรัฐบาลพรรคพลังประชาชนไปแล้ว อำนาจสำคัญของอำมาตย์คือกองทัพ ถ้าเราไม่เอาใจใส่ตรงนี้เราจะไม่ชนะ และอำนาจซ่อนเร้นสำคัญของฝ่ายเรา คืออำนาจในการนัดหยุดงาน ถ้าช่วง 13/14 มีนาคมที่ผ่านมา มีการหยุดเดินรถต่างๆ หยุดก่อสร้าง หยุดทำงานในโรงงานและสถานที่ทำงานต่างๆ เราจะเห็นพลังของคนเสื้อแดงในอีกมิติที่สำคัญ และถ้าทหารยิงประชาชนการหยุดแจกจ่ายไฟฟ้าหรือน้ำก็จะมีพลังด้วย

ยุทธ์วิธี 4 ข้อ สำหรับการต่อสู้ในปัจจุบัน
1. ชนกับอำมาตย์ในเรื่องนโยบายการเมืองที่เป็นรูปธรรม
2. ชนกับอำมาตย์ด้วยลัทธิความคิด
3. ขยายฐานคนเสื้อแดง
4. สร้างหน่ออ่อนของอำนาจคู่ขนาน เพื่อแข่งกับอำมาตย์

1. ชนกับอำมาตย์ในเรื่องนโยบายการเมืองที่เป็นรูปธรรม
การเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเรียกร้องต่อไป แต่เราต้องเพิ่มความเข้มข้นของนโยบายการเมืองที่จะใช้ชนกับอำมาตย์ เราจะต้องประกาศอย่างชักเจนว่าถ้าฝ่ายคนเสื้อแดงชนะ เราจะนำนโยบายใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่คนชั้นล่างมาใช้ และเราจะต้องท้าอำมาตย์ให้แสดงจุดยืนต่อนโยบายดังกล่าว เพราะเรารู้ดีว่าเขาไม่มีทางสนับสนุนสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนชั้นล่าง
นโยบายสำคัญที่เราควรประกาศคือการสร้าง รัฐสวัสดิการ ในรูปแบบที่ให้สวัสดิการครบวงจร และถ้วนหน้าสำหรับประชาชนทุกคน ไม่ใช่แค่สวัสดิการให้ทานกับคนจน และเราต้องประกาศว่าเราจะใช้งบประมาณจากการเก็บภาษีอย่างดุเดือดกับเศรษฐีและคนรวย คนที่รวยที่สุดด้วย โดยไม่มีข้อยกเว้น ส่วนคนชั้นกลางและคนจนจะไม่มีการเก็บภาษีเพิ่ม
เราควรเสนอนโยบายเป็นรูปธรรมสำหรับเกษตรกรรายย่อย เช่นการตัดผลประโยชน์ของบริษัทซีพี(ของอำมาตย์) และเพิ่มประโยชน์ให้ชาวไร่ชาวนา ตัวอย่างเช่นการตั้งองค์กรของรัฐขึ้นมาเพื่อทำเกษตรพันธสัญญากับเกษตรกรรายย่อย คือองค์กรรัฐช่วยในการลงทุน ที่ดิน การพัฒนาเทคโนโลจี การรักษามาตรฐาน และการตลาด และเกษตรกรจะทำการผลิตส่งให้รัฐ แต่องค์กรรัฐนี้ต้องบริหารร่วมกันโดยผู้แทนเกษตรกร และผู้แทนของรัฐบาลประชาธิปไตย
เราควรเสนอนโยบายรูปธรรมสำหรับการสร้างสันติภาพในภาคใต้ โดยการถอนทหารตำรวจออกจากชุมชน และการเสนอเขตปกครองพิเศษพร้อมกับการใช้ภาษาท้องถิ่นในสถานที่ราชการ ชุมชนต้องมีอำนาจในการกำหนดระบบการศึกษา ต้องมีการลงโทษพวกทหารระดับสูงที่ทรมานและฆ่าประชาชนด้วย ในระดับชาติควรมีการส่งเสริมวันสำคัญของอิสลาม และชักชวนให้นักศึกษาเรียนรู้ภาษายะวีหรือภาษามาเลย์ ทั้งหมดนี้จะเป็นนโยบายก้าวหน้าที่ตัดฐานสนับสนุนของประชาธิปัตย์ในภาคใต้ได้
เราต้องเสนอให้มีการปฏิรูประบบศาลยุติธรรมแบบถอนรากถอนโคน ปลดศาลและผู้พิพากษาของอำมาตย์ที่รังแกประชาชนออกไป และนำคนรุ่นใหม่ที่มีอุดมการณ์ความยุติธรรมเข้ามา พร้อมกันนั้นต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีระบบลูกขุน

2. ชนกับอำมาตย์ด้วยลัทธิความคิด
เราทราบดีจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา และอาชญากรรมของพันธมิตรฯ ว่าอำมาตย์ใช้ลัทธิกษัตริย์ เพื่อให้ความชอบธรรมกับสิ่งชั่วร้ายที่ตนทำ โดยเฉพาะสิ่งที่พวกนายพลเขาทำ ดังนั้นเราต้องชักชวนประชาชนให้สิ้นศรัทธาในระบบกษัตริย์และทำอย่างเป็นระบบด้วย ไม่ใช่ออกมาสู้เพื่อล้มอำมาตย์ แล้วถอยหลังหนึ่งก้าวโดยการส่งเสริมให้คนเสื้อแดงเคารพลัทธิกษัตริย์ ซึ่งเท่ากับเป็นการมัดมือตัวเองเพื่อชกมวย

3. ขยายฐานคนเสื้อแดง
เราควรขยายอิทธิพลและเครือข่ายคนเสื้อแดงไปสู่ (1)ขบวนการสหภาพแรงงาน และ (2)ทหารเกณฑ์ระดับล่าง เพื่อให้เรามีพลังในรูปแบบใหม่ และเพื่อให้พวกนายพลเสื้อเหลืองใช้ทหารธรรมดาที่เป็นพี่น้องเราในการปราบปรามประชาชนไม่ได้ ตรงนี้ต้องอาศัยการลงพื้นที่เพื่อผูกมิตรส่วนตัว แต่ในระดับชาติเราควรประกาศนโยบายรูปธรรมที่เราจะใช้ถ้าคนเสื้อแดงชนะคือ
เราควรดึงคนงานมาเป็นพวกด้วยการเสนอให้เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในทุกสถานที่ ให้สูงขึ้นถึงหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งมาตรการนี้ นอกจากจะลดความจนอย่างรวดเร็วและกระตุ้นตลาดภายในและการจ้างงานแล้ว จะเป็นแรงกดดันให้นายจ้างพัฒนากระบวนการผลิตและเทคโนโลจี ซึ่งรัฐช่วยตรงนี้ได้ ในประเทศสิงคโปร์เคยทำแบบนี้ และประเทศพัฒนาอย่างเกาหลีใต้ก็เพิ่มค่าจ้างได้โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจพัง พร้อมๆ กับนโยบายค่าจ้างดังกล่าว เราต้องให้ความคุ้มกันจริงกับสหภาพแรงงาน และออกกฎหมายห้ามปรามการเลิกจ้างคนงานเพื่อเพิ่มกำไรของกลุ่มทุน
เราควรดึงทหารเกณฑ์มาเป็นพวกโดยประกาศปฏิรูปกองทัพแบบถอนรากถอนโคน พวกนายพลกาฝากที่แสวงหาอำนาจและความร่ำรวยผ่านการทำรัฐประหาร การคอร์รับชั่น และการยิงประชาชน เราต้องเอาออกให้หมด ต้องลดงบประมาณทหารด้วยการปลดนายพลและลดการซื้ออุปกรณ์ทางทหาร แต่ในขณะเดียวกันต้องเพิ่มเงินเดือนให้ทหารเกณฑ์ ต้องพัฒนาสภาพชีวิตของเขา ต้องมีโครงการฝึกฝีมือและพัฒนาทหารระดับล่างให้มีลักษณะมืออาชีพที่ใช้กู้ภัยในสังคมแทนการปราบประชาชน ในสำนักงานตำรวจก็ควรจะปฏิรูปแบบนี้ด้วย เพื่อให้ตำรวจรับใช้ประชาชนและไม่รีดไถคนจน

4. สร้างหน่ออ่อนของอำนาจคู่ขนาน เพื่อแข่งกับอำมาตย์
ในทุกพื้นที่ที่คนเสื้อแดงเป็นคนส่วนใหญ่ เราควรท้าทายอำนาจราชการในรูปแบบเล็กๆ น้อยๆ เช่นตั้งระบบยุติธรรมและความปลอดภัย หันหลังให้ศาลและการบัญชาการของรัฐส่วนกลาง ขยายสื่อมวลชนของเรา เข้าไปมีอำนาจบริหารโรงเรียนและศูนย์พยาบาล จัดตั้งระบบคมนาคมง่ายๆ ฯลฯ แล้วแต่ความสามารถและเหมาะสม เพื่อค่อยๆ ลดอำนาจศูนย์กลางของรัฐอำมาตย์ และเพื่อทำให้ง่ายขึ้นที่จะยึดอำนาจรัฐมาเป็นของประชาชนในอนาคต

ในสงครามทางการเมืองกับอำมาตย์ เราต้องก้าวไปข้างหน้า
แต่เราต้องเข้าใจว่าจะไม่แพ้ชนะกันง่ายๆ ในวันสองวัน
ที่สำคัญคือมวลชนคนเสื้อแดงเป็นแสนๆ และจุดยืนทางการเมืองจะเป็นเรื่องชี้ขาด

ทุกอย่างเป็นแผนจากวังจริงหรือ?
ใจ อึ๊งภากรณ์

คนที่เชื่อว่าทุกอย่างในการเมืองไทยเป็นแผนมาจากวัง (เช่น อ.ชูพงษ์ และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่เอาเจ้า) เป็นคนที่มองว่า
1. อำมาตย์ไทยปัจจุบันคือระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และนายภูมิพลมีอำนาจสูงสุด
2. ประชาชนชั้นล่าง เช่นมวลชนเสื้อแดง ไม่เคยมีบทบาทอะไรเลยในสังคมการเมือง การเมืองเป็นเกมของคนชั้นบนเท่านั้น
3. ทหารไม่มีอำนาจอิสระ เป็นแค่ลูกน้องของกษัตริย์

แต่ในความเป็นจริงนายภูมิพลอ่อนแอทางอำนาจ แต่มีบทสำคัญในทางลัทธิการเมือง เพราะเป็นสัญลักษณ์ของ “ลัทธิกษัตริย์” ที่ทหารและส่วนอื่นๆ ของอำมาตย์ใช้ในการให้ความชอบธรรมกับตนเอง
อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายที่ไม่เอาเจ้า ไม่ว่าจะเป็นสาย อ.ชูพงษ์ หรือคนที่คิดแบบผม มีจุดร่วมตรงที่เรากำลังสู้เพื่อถล่มความ “ศักดิ์สิทธิ์” ของสถาบันกษัตริย์
เราเถียงไม่ได้เลยว่า กษัตริย์ภูมิพลไม่ได้รักประชาชนและสร้างความสงบอยู่เย็นเป็นสุข เพราะกษัตริย์ภูมิพลผู้เป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของไทย คัดค้านสวัสดิการเพื่อประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่เห็นด้วยกับการกระจายรายได้ สนับสนุนความรุนแรงในเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และชมคนที่ทำรัฐประหาร ๑๙ กันยาและคนที่ทำลายประชาธิปไตย เสรีภาพ และมาตรฐานความยุติธรรมทางกฎหมาย ถ้าภูมิพลเป็นคนก้าวหน้าหรือเป็นคนดี เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหยุดวิ่งรถตามถนนหนทาง เพื่อให้ตัวเขาและญาติๆ เดินทางด้วยความสะดวกในขณะที่รถพยาบาลฉุกเฉินไม่เคยได้รับการอำนวยความสะดวกแบบนี้เลย เขาจะไม่ปล่อยให้มีการหมอบคลานต่อตัวเองเหมือนกับว่าประชาชนเป็นสัตว์ และเขาจะออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องประชาธิปไตยและการคัดค้านกฎหมายเผด็จการต่างๆ รวมถึงกฎหมายหมิ่นเจ้าด้วย

บทบาทคู่ขนาน ทหาร กับ กษัตริย์
ถ้าเราจะเข้าใจบทบาทของกษัตริย์ภูมิพลในสังคมไทย เราต้องเข้าใจบทบาทคู่ขนานของทหารกับกษัตริย์ เพราะในสังคมต่างๆ โดยทั่วไปทั่วโลก ชนชั้นปกครองจะดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้อำนาจข่มเหง และการสร้างความชอบธรรมสำหรับตนเองในสายตาประชาชนพร้อมๆ กัน และการใช้อันใดอันหนึ่งตามลำพังมีประสิทธิภาพต่ำเกินไปที่จะสร้างความมั่นคงให้กับชนชั้นปกครอง
ในไทยกษัตริย์ภูมิพลคือสัญลักษณ์ของลัทธิอนุรักษ์นิยมที่ให้ความชอบธรรมกับอำนาจของอำมาตย์ โดยเฉพาะอำนาจทหาร และทหารคือผู้ใช้อำนาจข่มเหงประชาชนและสังคมด้วยอาวุธ ดังนั้นกษัตริย์ภูมิพลไม่มีอำนาจเอง แต่มีหน้าที่สร้างความชอบธรรมให้กับอำมาตย์ หรืออาจพูดได้ว่าเป็นเครื่องมือของอำมาตย์ในการสร้างความชอบธรรม แต่เป็นเครื่องมือที่ยินดีทำตามหน้าที่ เพราะได้ประโยชน์ตรงนั้นด้วย อย่างไรก็ตามภาพลวงตาที่เราเห็น คือภาพละครอำนาจ ที่เสนอว่าภูมิพลเป็นใหญ่ เพราะทหารและอำมาตย์ส่วนอื่นๆ ปั้นภูมิพลขึ้นมาเป็นเจ้าเป็นเทวดา แล้วก็ไปกราบไหว้ เพื่อที่จะโกหกพวกเราว่าเขาคือตัวแทนหรือผู้รับใช้กษัตริย์
แต่ประเด็นสำคัญคือ การที่เขาต้องขยันในการสร้างลัทธิกษัตริย์เพื่อข่มขู่และครองใจประชาชน แสดงว่าเขากลัวประชาชน และทราบดีว่าถ้าเรารวมตัวกัน เราจะมีอำนาจล้มอำมาตย์ ทุกสังคมมีผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง และเราต้องมองทั้งสองส่วนพร้อมกัน

นายภูมิพลมีอำนาจสูงสุดจริงหรือ?
พวกอภิสิทธิ์ชนและอำมาตย์มักสร้างภาพลวงตาว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นทั้ง ศักดา(เก่าแก่) สมบูรณาญาสิทธิราชย์(อำนาจสูงสุด) และกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ(แบบประชาธิปไตย) พร้อมกันหมด เพื่อสร้างความชอบธรรมกับสิ่งที่อำมาตย์ โดยเฉพาะทหาร กระทำในสังคม แต่การมองลักษณะกษัตริย์แบบนี้ของอำมาตย์ เป็นการสร้างภาพที่ไม่ตรงกับประวัติศาสตร์ เพราะระบบศักดินาถูกปฏิวัติไปโดยรัชกาลที่ ๕ ผู้สร้างระบบรัฐชาติรวมศูนย์ภายใต้กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบนี้ถูกปฏิวัติไปในปี ๒๔๗๕ โดยที่ไม่มีการสถาปนาใหม่ในภายหลังเลย มีแต่การนำกษัตริย์มารับใช้ระบบทุนนิยมภายใต้อำมาตย์ในรูปแบบใหม่ ในประเทศทุนนิยมที่มีกษัตริย์ทั่วโลก ฝ่ายนายทุนพยายามเชิดชูกษัตริย์ เพื่อย้ำว่า “บางคนเกิดมาสูง บางคนเกิดมาต่ำ และนั้นคือธรรมชาติ”
เวลาทหารจะก่อรัฐประหารหรือทำอะไรที่มีผลกระทบต่อสังคม มีการคลานเข้าไปหาภูมิพล เพื่อสร้างภาพว่าไป “รับคำสั่ง” แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงการ “แจ้งให้ทราบ” ว่าตัดสินใจทำอะไรก่อนหน้านั้น มันเป็นละครครั้งใหญ่ที่ผู้คลานมีอำนาจเหนือผู้ถูกไหว้ ในกรณีแบบนี้กษัตริย์ภูมิพลจะถามความเห็นจากองค์มนตรีก่อนว่าควรมีจุดยืนอย่างไร ถ้าองค์มนตรีเห็นด้วยกับทหาร ภูมิพลจะอนุญาตให้ “เข้าเฝ้า” แต่ถ้าองค์มนตรีแนะว่าไม่เห็นด้วย ภูมิพลจะ “ไม่สะดวกที่จะให้เข้าเฝ้า” แต่อย่าเข้าใจผิดว่าสถานการณ์แบบนี้แสดงว่าองค์มนตรีมีอำนาจสูงสุด ไม่ใช่ องค์มนตรีมีไว้เป็นกลุ่มประสานงานระหว่างอำมาตย์ส่วนต่างๆ เช่นทหารชั้นผู้ใหญ่ นายทุนใหญ่ นักการเมืองอาวุโส หรือข้าราชการชั้นสูง และจะต้องสรุปความเห็นส่วนใหญ่ของอำมาตย์เพื่อแนะแนวให้กษัตริย์ นอกจากนี้ฝ่ายต่างๆ ของอำมาตย์ แม้แต่ในกองทัพเอง ก็ขัดแย้งกัน แข่งกัน แย่งกินกันอีกด้วย ไม่มีใครที่ผูกขาดอำนาจได้ มีแต่ความสามัคคีชั่วคราวเท่านั้น
การสร้างภาพว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นใหญ่ หรือภาพว่าทหาร “เป็นของกษัตริย์หรือราชินี” มีประโยชน์ต่ออำมาตย์ที่คอยบังคับให้เราจงรักภักดีต่อกษัตริย์และราชวงศ์ เพราะการจงรักภักดีดังกล่าวเป็นการจงรักภักดีต่อทหารและส่วนอื่นๆ ของอำมาตย์
ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์จะไม่พบช่วงไหนที่ภูมิพลมีอำนาจสั่งการอะไรได้ อาจแสดงความเห็นบ้าง แต่บ่อยครั้งก็ไม่มีใครฟัง เช่นกรณีสุจินดา กรณีรัฐบาลหลัง ๖ ตุลา ที่อยู่ได้แค่ปีเดียว หรือแม้แต่กรณีการใช้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ภูมิพลพร้อมจะตามกระแส ไปด้วยกับผู้มีอำนาจทุกรูปแบบ เช่นสมัยรัฐบาลทักษิณก็มีการชมสงครามยาเสพติดที่ฆ่าคนบริสุทธิ์กว่าสามพันคน และมีการร่วมธุรกิจระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับบริษัท Shin Corp ของทักษิณอีกด้วย
บางครั้ง “ละครอำนาจ” ที่อำมาตย์เล่น ทำให้พวกราชวงศ์มีพื้นที่ที่จะทำอะไรตามใจชอบได้ กรณีพฤติกรรมของเจ้าฟ้าชายเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ในเรื่องสำคัญๆ เช่นนโยบายต่อการปกครองบ้านเมือง หรือผลประโยชน์หลักของอำมาตย์ สมาชิกราชวงศ์ไม่สามารถทำอะไรได้
นักวิชาการที่เชื่อว่านายภูมิพลมีอำนาจมักใช้กรอบคิดร่วมกันสองกรอบคือ กรอบคิด “พรรคคอมมิวนิสต์” เรื่องขั้นตอนการปฏิวัติทุนนิยม และกรอบคิด “รัฐข้าราชการ” ที่เน้นแต่การกระทำของคนชั้นสูงเท่านั้น และมองว่าประชาชนรากหญ้าไม่สำคัญ
การมองสังคมไทยตามของ พคท เสนอว่าไทยเป็น “กึ่งศักดินา” ดังนั้นเขามักจะมองว่าความขัดแย้งที่นำไปสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยาเป็นความขัดแย้งระหว่างนายทุนสมัยใหม่(ทักษิณ) กับระบบกึ่งศักดินาของกษัตริย์ โดยที่กษัตริย์เป็นผู้นำทางการเมืองที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ทักษิณ ยืนยันอยู่ตลอดว่าเขารักและจงรักภักดีต่อภูมิพล และเจ้าฟ้าชาย และรัฐบาลของเขาก็มีส่วนสำคัญในการรณรงค์ให้คนใส่เสื้อเหลืองและรักเจ้า
แนวคิดแบบนี้มองข้ามลักษณะการเป็นนายทุนสมัยใหม่ของกษัตริย์ภูมิพล และเครือข่ายอำมาตย์ ที่ประกอบไปด้วยทหาร ข้าราชการ และนายทุนธนาคาร และที่สำคัญ ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ว่าทำไมนายทุนสมัยใหม่อย่างทักษิณ หรือนายธนาคาร จะส่งเสริมสถาบันกษัตริย์เพื่อประโยชน์ของนายทุนเอง

บทบาทของกษัตริย์ไทยในการเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิอนุรักษ์นิยม
บทบาททางการเมืองของภูมิพลเริ่มชัดเจนขึ้นในสมัยเผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ยุคนี้เป็นยุคสงครามเย็น และยุคสงครามอินโดจีน รัฐบาลเผด็จการของสฤษดิ์ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐเชื่อว่าสฤษดิ์เป็นแนวร่วมที่ดีในการสู้กับคอมมิวนิสต์ สฤษดิ์ต้องชูกษัตริย์ เพื่อให้ฝ่ายรักเจ้าอนุรักษ์นิยมในไทย และฝ่ายสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเผด็จการของเขา
ในบริบทของสงครามเย็น สหรัฐอเมริกา และชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมไทย รวมถึงเผด็จการทหาร มองว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิที่จะใช้ต้านคอมมิวนิสต์ได้ หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐมีบทบาทสำคัญในการแจกรูปถ่ายภูมิพลและภรรยาไปตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์นี้ ดังนั้นการเชิดชูกษัตริย์ภูมิพลผูกพันกับการปกป้องผลประโยชน์ของอำมาตย์จากการที่จะถูกท้าทายโดยกระแสคอมมิวนิสต์
กระแสคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่อำมาตย์ไทยกลัวมาก โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศรอบข้างกำลังเปลี่ยนไปปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากที่คอมมิวนิสต์ล่มสลาย ภัยจากประชาชนที่มีต่อผลประโยชน์อำมาตย์ ไม่ได้หายไป เพราะมีการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคม สหภาพแรงงาน และในที่สุดก็เกิดคนเสื้อแดง ดังนั้นอำมาตย์ไม่เคยเลิกในความพยายามที่จะครองใจประชาชนด้วยลัทธิกษัตริย์
พวกอำมาตย์ ไม่ใช่ซากเก่าของระบบศักดินา แต่เป็นชนชั้นปกครองอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่ที่ใช้เผด็จการและความป่าเถื่อน ยิ่งกว่านั้นภูมิพลไม่ใช่หัวหน้าของแก๊งโจรเหล่านี้ แต่แก๊งโจรใช้เขาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมต่างหาก โดยที่ภูมิพลยินดีถูกใช้ตราบใดที่สามารถกอบโกยความร่ำรวยและมีคนมากราบไหว้ต่อไปเรื่อยๆ
การสร้างความชอบธรรมจากกษัตริย์มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทหารไทย เพราะทุกวันนี้กระแสประชาธิปไตยขยายไปทั่วโลกในจิตใจประชาชน เวลาทหารทำรัฐประหารก็อาจพยายามอ้างว่าทำ “เพื่อประชาธิปไตย” แต่ไม่ค่อยมีใครเชื่อ เพราะบทบาททหารในการเมืองกับระบบประชาธิปไตยมันไปด้วยกันไม่ได้ นอกจากนี้กองทัพไทยไม่มีประวัติอะไรเลยในการปลดแอกประเทศอย่างในกรณีอินโดนีเซียหรือเวียดนาม ดังนั้นทหารต้องอ้างความชอบธรรมจากที่อื่น เวลาทหารอ้างว่า “ทำเพื่อกษัตริย์” จะได้ดูเหมือนว่าไม่ได้ยึดอำนาจมาเพื่อตนเอง จะเห็นได้ว่าการสร้างภาพว่ากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด เป็นประโยชน์ในการปิดบังความจริงเกี่ยวกับการใช้อำนาจของทหาร ที่ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ตนเองเสมอ และทุกกลุ่มทุกรุ่นที่แย่งชิงผลประโยชน์กันเองในกองทัพ ก็จะพยายามโกหกเสมอว่า “ทำเพื่อในหลวง”
การใช้กษัตริย์เพื่อเป็นลัทธิที่ให้ความชอบธรรมกับอำมาตย์ ต่างจากยุโรปตะวันตกตรงที่อำมาตย์ไทยยังไม่ถูกบังคับโดยประชาชนให้ยอมรับประชาธิปไตย ดังนั้นลัทธิกษัตริย์ในไทย ใช้ในลักษณะเผด็จการพร้อมกับกฎหมายหมิ่นฯ หรือกฎหมายเผด็จการอื่นๆ และมีการสร้างภาพว่ากษัตริย์เป็นเทวดาเหนือมนุษย์ด้วยการหมอบคลานและการใช้ราชาศัพท์ ถ้าไทยจะมีระบบกษัตริย์เหมือนยุโรปตะวันตก ก็จะต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ การหมอบคลาน และการใช้ราชาศัพท์ และต้องยินยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์อย่างเสรีพร้อมกับการมีเสรีภาพในการเสนอระบบสาธารณรัฐอีกด้วย และที่สำคัญต้องมีการทำลายอำนาจทหารลงไป ในสถานการณ์แบบนั้น เราไม่จำเป็นต้องมาปกป้องหรือรื้อฟื้นกษัตริย์ในรูปแบบใหม่เลย ยกเลิกไปจะดีกว่า และจะมีประโยชน์กว่า เพราะจะประหยัดงบประมาณ และในอนาคตจะไม่มีใครสามารถอ้างกษัตริย์ในการทำลายประชาธิปไตยได้อีก

Monday 8 March 2010

ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลก Baden Powell เป็นนาซี


ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลก Baden Powell เป็นนาซี ข่าวล่าสุดจากเอกสารองค์กรสืบราชการลับอังกฤษ
และราชวงศ์ไทยก็ชื่นชมขบวนการลูกเสือและนาซีด้วย



Sunday 7 March 2010

ยุทธวิธีปฏิวัติในเมือง



ยุทธวิธีปฏิวัติในเมือง
บทเรียนจากทั่วโลก
บทเรียนสำคัญในไทยดูได้จาก ๑๔ ตุลา และพฤษภา ๓๕

ใจ อึ๊งภากรณ์

1. อาศัยมวลชนจำนวนมากเป็นแสน อาศัยการเมืองนำการทหาร ไม่ใช่ใช้กองโจร,กองกำลังพิเศษ หรือหน่วยกล้าตาย และฝ่ายเราไม่เริ่มความรุนรุนแรงก่อน แต่ประชาชนไม่ควรโง่ ไม่ซื่อ ไม่หลงคิดว่าฝ่ายเขาจะไม่ป่าเถื่อนไม่ฆ่าเรา ไม่ว่าเราจะถือธงหรือร้องเพลงอะไร

กฎเหล็กคือ ยิ่งมีมวลชนมากเท่าไร การนองเลือดจะน้อยลง เพราะฝ่ายตรงข้ามจะกลัว

2. การปฏิวัติ เป็นขั้นตอนเด็ดขาด ไม่ใช่เรื่องที่ทำเล่นๆถ้าไม่พร้อม พอเริ่มแล้วถอยไม่ได้ ถ้าถอยจะตาย เราต้องเดินหน้าโค่นอำมาตย์ ดึงรูปปั้นมันลงมาด้วย

3. มวลชนต้องคุยกับทหารชั้นล่างอย่างต่อเนื่อง ทำความเข้าใจและปลุกจิตสำนึกทางการเมือง เพื่อให้ทหารชั้นล่างเปลี่ยนข้างเมื่อถึงจุดสุดท้าย จะได้ลดการนองเลือด

4. ต้องมีการยึดอาวุธ ยึดรถถัง ต้องกั้นถนน ยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์ ยึดสถานที่ราชการ


ในอดีตทั่วโลกมีการใช้วิธีต่างๆ เพื่อปิดกั้นทหาร และสู้กับรถถังถ้าเขาใช้กำลังฆ่าฝ่ายประชาชน


และที่สำคัญ: ต้องขยันสร้างฐานมวลชนในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในสหภาพแรงงาน เพื่อให้มีการนัดหยุดงานหนุนช่วย เราจะได้คุมเศรษฐกิจได้

Wednesday 3 March 2010

วิจารณ์บทสัมภาษณ์ เกษียร เตชะพีระ “วิกฤตหลัง 26 กุมภาฯ”

วิจารณ์บทสัมภาษณ์ เกษียร เตชะพีระ “วิกฤตหลัง 26 กุมภาฯ”
มติชน 1 มีนาคม 2553


ใจ อึ๊งภากรณ์

บทสัมภาษณ์อาจารย์เกษียรใน มติชน มีข้อดีหลายประการคือ อธิบายว่าคำตัดสินของศาลในคดีทักษิณเป็นเรื่องที่แยกออกไม่ได้จากการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา คือเป็นการให้ความชอบธรรมกับรัฐประหารดังกล่าว อ.เกษียรพูดว่า “ถ้าไม่ยึดเลย เท่ากับทำลายความชอบธรรม ว่าที่ทำมาตลอด 4-5 ปีมันขี้หมาทั้งหมด หลอกทั้งเพ” ชัดเจนมาก และมีการอธิบายต่อไปว่าการทำรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาคอร์รับชั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูก และเสี่ยงกับการนำไปสู่การทำลายความชอบธรรมทั้งปวงของระบบศาล อย่างที่เราเห็นในเรื่องสองมาตรฐานเกี่ยวกับการยึดสนามบินของฝ่ายพันธมิตรฯ ฯลฯ
ที่จริงแล้วถ้าจะว่าการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา “เสี่ยง” กับการทำลายความชอบธรรมของศาล ผมว่ามันทำลายไปนานแล้ว และศาลไทยไม่เคยมีความชอบธรรมในสายตาพลเมืองที่เป็นกรรมาชีพและคนจนเลย เพียงแต่ว่าคนไทย รวมถึง อ.เกษียรเอง ไม่มีเสรีภาพที่จะวิจารณ์ศาลอย่างที่เขาทำได้ในประเทศประชาธิปไตย เพราะศาลมีกฎหมายหมิ่นฯไว้บังคับความจงรักภักดี เหมือนกฎหมายหมิ่นกษัตริย์
อ. เกษียรพูดถูกเมื่อเสนอว่าเรา “ไม่สามารถพูดได้เต็ม 100% เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของรัฐบาลคุณทักษิณ” ใช่เลยและผมก็เป็นหนึ่งในหลายคนที่วิจารณ์นโยบายละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้และสงครามยาเสพติดสมัยนั้น และเราปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาล ไทยรักไทย เคยพยายามครอบงำสื่อ
แต่ในขณะเดียวกัน การเสนอโดย อ.เกษียร ว่ารัฐบาลทักษิณ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งและเสียงข้างมากของประชาชน เป็น “ทรราชย์” ไม่สมเหตุสมผล การที่ไม่สมเหตุสมผลไม่ใช่เพราะรัฐบาลนั้นไม่ได้โหดร้ายทารุณ เพราะมีความโหดร้ายทารุณในกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มันไม่สมเหตุสมผลเพราะรัฐบาลเอาออกได้ ผ่านการเลือกตั้งในกระบวนการประชาธิปไตย และเราเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลได้อีกด้วย เพราะไม่ได้มีการห้ามการประท้วง เซ็นเซอร์สื่อ หรือใช้กองกำลังปราบปรามพร้อมกฎหมายเผด็จการหลายชุด อย่างที่เราเห็นในกรณีรัฐบาล คมช. หรือรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัจจุบัน

ปัญหาของการวิเคราะห์ของ อ.เกษียรมาจากกรอบมุมมองประเภท “ชนชั้นนำ” และกรอบมุมมองแบบ “พคท.” (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ที่เสนอว่าการปฏิวัติทุนนิยมในไทยยังไม่สมบูรณ์

แนวคิดแบบชนชั้นนำ เป็นกระแสหลักในวิชาการไทยมานาน ตั้งแต่สมัยที่มีการเสนอเรื่อง “รัฐข้าราชการ” ที่เน้นแต่บทบาททางสังคมของคนชั้นสูง โดยไม่พิจารณาบทบาทของคนส่วนใหญ่ในสังคมเลย สำนักคิดนี้ในไทยเติบโตมาจากงานของ Fred Riggs ในยุคเผด็จการสฤษดิ์ ที่เสนอว่าไทยเป็นรัฐข้าราชการ และคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่สนใจและไม่มีบทบาททางการเมือง งาน “สองนคราประชาธิปไตยไทย” ของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ก็คล้อยตามแนวนี้พอสมควร เพราะมองว่าคนจนในชนบทคิดเองไม่เป็น
อ.เกษียร เป็นส่วนหนึ่งของปัญญาชนไทยที่มีจุดยืนทำนอง “ผมไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารโดยหลักการ แต่ ไม่รู้จะจัดการกับ ‘ทรราชย์ทักษิณ’ อย่างไรนอกจากการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา” มันเป็นการสนับสนุนรัฐประหารในรูปธรรมเพราะมองไม่ออกว่ามีทางเลือกอื่น และ อ.เกษียรก็ไม่เสนอทางเลือกอื่นเลย แต่ในขณะเดียวกันมันเป็นการฟอกตัวให้ดูขาวสะอาด
การเชื่อว่า “ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรัฐประหาร ๑๙ กันยา” มาจากความเชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือก ไทยรักไทย “เข้าไม่ถึงข้อมูล” (โง่) “ถูกครอบงำจนต้องพึ่งพาทักษิณ” (ไม่มีวุฒิภาวะ) และ “ไม่ได้เลือก ไทยรักไทย อย่างเสรี” (คิดเองไม่เป็น) แต่ความจริงมันตรงข้าม มีการพิสูจน์แล้วพิสูจน์อีกในการเลือกตั้งหลายรอบ และพิสูจน์ต่อในลักษณะการจัดตั้งและเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวเองเพื่อประชาธิปไตย โดยไม่ได้อาศัยการจ้างมาโดยเงินทักษิณ แต่พวกเสื้อเหลืองก็พูดเหมือนนกแก้วว่าคนเสื้อแดงเป็นแค่เครื่องมือของทักษิณ และนักวิชาการจำนวนมากมองว่าตนเองมีวุฒิภาวะมากกว่าประชาชน
การที่คนอย่าง อ.เกษียรไม่เชื่อว่าเราสามารถเอารัฐบาลทักษิณออกด้วยวิธีประชาธิปไตย ก็เพราะหมดความศรัทธาในการสร้างพรรคการเมืองของประชาชนชั้นล่างหลังการล่มสลายของ พคท. ซึ่งความคิดแบบนี้เป็นกระแสเดียวกับการเปลี่ยนจากการเชื่อมั่นในมวลชนคนชั้นล่าง และหันไปตั้งความหวังใน “ผู้ใหญ่” ซึ่งเกิดขึ้นในขบวนการ เอ็นจีโอ และทั้งๆ ที่ อ.เกษียรไม่สบายใจกับการตั้งความหวังกับผู้ใหญ่และมองว่ามันมีปัญหา แต่เขาไม่มีข้อเสนอว่าจะแก้ไขสถานการณ์แบบนี้อย่างไรเป็นรูปธรรม นอกจากการโทษคนไทยด้วยกัน ถ้าเราจะแก้ปัญหานี้เราต้องทำงานจัดตั้งและทำงานเคลื่อนไหวพร้อมๆกับการเป็นนักวิชาการ ซึ่งไม่ง่านและอาจเห็นผลช้า แต่เป็นเรื่องจำเป็น
การที่คนเสื้อแดงจำนวนมาก “รักทักษิณ” หรือ “สู้เพื่อปกป้องทักษิณ” เพราะเห็นชอบกับนโยบาย ไทยรักไทย ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็น “ลูกน้องทักษิณ” และ “สู้ตามคำสั่งและเงินของทักษิณ” แต่อย่างใด และมันไม่ได้หมายความว่าเขา “แค่สู้เพื่อทักษิณ” เพราะเราจะเห็นว่าคนเสื้อแดงสู้เพื่อ “ประชาธิปไตยแท้” และ “ต้านอำมาตย์” ด้วย เป็นเรื่องดีที่ อ.เกษียรไม่ได้มองแบบตื้นเขินและกลไกเหมือนพวกเสื้อเหลือง เพราะเขาเสนอว่า “ถึงที่สุด ผมไม่เชื่อว่า ทักษิณคุมเสื้อแดง” แต่ในขณะเดียวกัน อ.เกษียรยังให้ความสำคัญไม่พอกับ “ลักษณะการเป็นประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตย” ของคนเสื้อแดง เขาไม่พูดถึงข้อแตกต่างที่เสื้อแดงมีกับพันธมิตรฯ ซึ่งในกรณีพันธมิตรอาจนำตนเองบ้างแต่ประเด็นสำคัญคือสู้เพื่อเผด็จการและระบบอำมาตย์ เสื้อแดงกับเสื้อเหลืองไม่ใช่พลังประชาชนที่แค่อยู่ฝ่ายตรงข้าม เพราะฝ่ายหนึ่งสู้เพื่อประชาธิปไตยและอีกฝ่ายสู้เพื่ออำมาตย์ ทั้งๆที่เสื้อแดงก็ไม่ใช่เทวดา เป็นแต่ประชาชนธรรมดาที่อาจผิดพลาดกันได้

การวิเคราะห์ของนักวิชาการที่อาศัยกรอบแนว “สตาลิน-เหมา” ของ พคท. เสนอว่าไทยเป็น “กึ่งศักดินา” เพราะการปฏิวัตินายทุนยังไม่สมบูรณ์ อ.เกษียรและคนอื่นมองว่าความขัดแย้งที่นำไปสู่รัฐประหาร ๑๙ กันยาว่าเป็นความขัดแย้งระหว่าง “นายทุนโลกาภิวัตน์สมัยใหม่”(ทักษิณ) กับ “ทุนเก่าจากระบบกึ่งศักดินาของอำมาตย์” มันเป็นมุมมองที่เสนอการปฏิวัตินายทุนและขั้นตอนของประวัติศาสตร์ในลักษณะกลไก เป็นการสวมประวัติศาสตร์ศตวรรษที่ 18 ในยุโรปทับสถานการณ์บ้านเมืองในไทยปัจจุบัน มีการพยายามแสวงหาการปฏิวัติในไทยที่มีรูปแบบเหมือนการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 และเมื่อหาไม่เจอ ก็สรุปว่ายังไม่ได้เกิดขึ้นหรือยังไม่สำเร็จโดยสมบูรณ์ ยิ่งกว่านั้นมันเสี่ยงกับการสร้างนิยายว่านายทุนบริสุทธิ์สมัยใหม่หรือแนวเสรีนิยมส่งเสริมประชาธิปไตย
หลังค.ศ. 1848 ชนชั้นนายทุนในยุโรปได้ประนีประนอมกับอำนาจขุนนางเก่า ซึ่งอ่อนแอลงเนื่องจากการขยายตัวของทุนนิยม ดังนั้นชนชั้นนายทุนสามารถครองอำนาจได้โดยไม่ต้องปฏิวัติแบบเก่าอีก และที่สำคัญคือการปฏิวัติแบบ 1789 ในฝรั่งเศสเสี่ยงต่อการที่ชนชั้นล่าง โดยเฉพาะกรรมาชีพในเมือง จะตื่นตัวร่วมปฏิวัติและจะเดินหน้าโค่นล้มนายทุนไปด้วย อย่างที่เกิดในรัสเซียในปี 1917 นี่คือสาเหตุที่ คาร์ล มาร์คซ์ มองว่านายทุนหลัง 1848 เป็นชนชั้นที่ขี้ขลาดไม่กล้านำการปฏิวัติ ในประเทศด้อยพัฒนา(ในยุคนั้น)อย่าง เยอรมัน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ไทย ชนชั้นปกครองเก่าทำการปฏิวัติเอง เพื่อเปิดทางให้ทุนนิยมพัฒนาเต็มที่ และแปลงตัวเป็นนายทุน สิ่งนี้เกิดในไทยในช่วงรัชกาลที่ ๕ และศักดินาก็หมดไป
สำนักคิด สตาลิน-เหมา ที่ พคท. ใช้ในการวิเคราะห์สังคมไทย เป็นแนวคิดที่มองว่าประเทศด้อยพัฒนายังเป็น “กึ่งศักดินา-กึ่งเมืองขึ้น” อยู่ ทั้งนี้เพื่อเสนอว่าการต่อสู้ขั้นตอนต่อไปในประเทศเหล่านี้ต้องเป็นขั้นตอน “ประชาชาติประชาธิปไตย” หรือขั้นตอน “สถาปนาทุนนิยม” นั้นเอง มันเป็นทฤษฏีที่สร้างความชอบธรรมกับการทำแนวร่วมระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับชนชั้นนายทุนรักชาติ ซึ่งในภายหลังมีการตีความต่อไปว่าควรทำแนวร่วมกับทักษิณ “เพื่อต่อต้านศักดินา”
อย่างไรก็ตาม ทักษิณ ยืนยันอยู่ตลอดว่าเขารักและจงรักภักดีต่อกษัตริย์ เหมือนกับที่กลุ่มทุนใหญ่ในยุโรปก็อ้างความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของเขา ไม่ว่าจะอังกฤษหรือฮอลแลนด์ ฯลฯ ประเด็นคือสถาบันกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของ “ความชอบธรรม” ในการอนุรักษ์ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นที่ “มอบลงมาจากพระเจ้า” หรือ “เป็นลักษณะดั้งเดิมของไทย” ที่ฝ่าฝืนไม่ได้
อ.เกษียร พูดว่า “หัวใจของทุนนิยมคือกรรมสิทธิ์ แต่คำตัดสินวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ได้พาดเข้าไปกลางหัวใจทุนนิยม กล่าวคือ เมื่อถึงจุดหนึ่ง รัฐสามารถเข้าไปยึดทรัพย์สินของเอกชนได้ เหมือนเชือดไก่ให้ลิงดู” แต่อำมาตย์เป็นนายทุนเหมือนทักษิณ และไม่มีวันต้องการทำลายระบบทุนนิยมและกรรมสิทธิ์ปัจเจก
แนวคิดแบบนี้มองข้ามลักษณะการเป็นนายทุนสมัยใหม่ของเครือข่ายอำมาตย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพฯ บริษัทซีพี ฯลฯ ซึ่งอยู่ในเครือข่ายอำมาตย์ เป็นทุนโลกาภิวัตน์สมัยใหม่ และเป็นทุนไทยข้ามชาติมาก่อนที่ทุนทักษิณจะเจริญเติบโตอีกด้วย แนวเศรษฐศาสตร์การเมืองของอำมาตย์ โดยเฉพาะของรัฐบาลทหารตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ปัจจุบัน คือแนวเสรีนิยมกลไกตลาดสุดขั้ว เขาปล่อยวางไม่ยอมใช้รัฐพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบ ไทยจึงเหลื่อมล้ำสูงและกรุงเทพฯจึงมีปัญหาจราจรที่ไม่ยอมแก้ พรรคประชาธิปัตย์และนักวิชาการเสื้อเหลืองโจมตีการใช้งบประมาณของรัฐสมัยทักษิณ เพราะ “ขัดกับวินัยทางการคลัง” และ “สร้างระบบอุปถัมภ์” ศัพท์เสรีนิยมทั้งสิ้น รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ของ คมช. เพิ่มการเน้นนโยบายกลไกตลาดเสรี และพิสูจน์ให้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง ไปได้สวยกับทิศทางกลไกตลาดเสรี ในขณะเดียวกัน รัฐบาลทักษิณใช้ทั้งเสรีนิยมกลไกตลาด และรัฐพัฒนาเศรษฐกิจ (แนวเคนส์รากหญ้า) ซึ่งเรียกกันว่าแนวเศรษฐกิจ “คู่ขนาน”
แนวความคิดเรื่อง “ทุนใหม่” กับ “ทุนเก่า” ที่สืบรากมาจากการวิเคราะห์ของ พคท. แต่ถูกใช้โดยคนที่ปฏิเสธ พคท. นั้นไม่ตรงกับข้อมูลในโลกจริง เป็นมุมมองของคนที่ขี้เกียจมองออกไปข้างนอก
ความขัดแย้งหลักระหว่างอำมาตย์กับทักษิณจึงไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่าง “ทุนเก่า” ในลักษณะกึ่งศักดินา กับ “ทุนใหม่” ในลักษณะทุนสมบูรณ์แบบโลกาภิวัตน์สมัยใหม่ แต่ความขัดแย้งเกิดจากแนวร่วมระหว่างนักการเมืองทุนนิยมในรูปแบบทักษิณ กับ พลเมืองจำนวนมากที่ยากจน
ปัญหาคือ อ.เกษียร มองว่าแนวร่วมนี้มีลักษณะ “ทักษิณจูงคนจน” มากกว่าการเป็นแนวร่วมระหว่างกลุ่มพลังสองกลุ่ม ถ้ามันเป็นแค่ทักษิณจูงคนจนมันจะไม่เป็นแนวร่วมเลย แต่ อ.เกษียรพูดว่า “นโยบายเอื้ออาทรก็อุ้มคนเหล่านี้” เหมือนอุ้มเด็กทารกที่สู้เองไม่ได้
ข้อขัดแย้งกับอำมาตย์คือแนวร่วมนี้มีพลังจากทักษิณและรากหญ้าพร้อมกัน คู่แข่งที่เป็นกลุ่มอำนาจเก่าหรือคนที่เคยครองอำนาจการเมืองมานาน ไม่สามารถแข่งกับอำนาจทางการเมืองแบบนี้ได้ เพราะทักษิณสามารถปลุกใจพลเมืองไทยรากหญ้าให้กล้ามีสิทธิ์มีเสียง ในขณะที่กลุ่มอำนาจเก่าเคยชินกับการปกครองสั่งลงมาอย่างเดียว และสาเหตุที่ทักษิณสมารถนำการต่อสู้ของคนชั้นล่างในรูปแบบผิดเพี้ยนแบบนี้ได้ ก็เพราะความอ่อนแอของฝ่ายซ้ายตั้งแต่การล่มสลายของ พคท. ถ้าคุณไม่วิเคราะห์แบบชนชั้นและไม่ให้ความสำคัญกับมวลชนรากหญ้าเพียงพอ คุณจะมองไม่เห็นภาพนี้ และคุณจะอัมพาตทางการเมือง เลือกข้างประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยไม่ได้